การพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยม ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยมในโรงเรียนขนาดใหญ่ 2) พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยมในโรงเรียนขนาดใหญ่ 3) ยืนยันโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยมในโรงเรียนขนาดใหญ่ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงตามที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยมในโรงเรียนขนาดใหญ่ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 519 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เส้นทาง ระยะที่ 3 ยืนยันปัจจัยโมเดลเชิงสาเหตุ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการยืนยัน คือ แบบตรวจสอบยืนยันโมเดลเชิงสาเหตุ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยม ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ประกอบด้วย การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน การรณรงค์ สร้างเจตคติและจิตสำนึกความปลอดภัย การจัดหลักสูตรสวัสดิศึกษา การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดบริการความปลอดภัย และมาตรการป้องกันและการแก้ไขปัญหา
- โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยมในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ดังนี้ ค่า chi-square เท่ากับ 17.06 ค่า p-value เท่ากับ 0.02 ค่า chi-square/df เท่ากัน 2.44 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.96 ค่า CFI เท่ากับ 0.99 ค่า NFI เท่ากับ 0.99 ค่า IFI เท่ากับ 0.99 ค่า RMR เท่ากับ 0.00 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.05 โดยมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา การจัดบริการความปลอดภัย และการจัดระบบคุ้มครองเด็กมีอิทธิผลทางตรงต่อการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยมในโรงเรียนขนาดใหญ่ อีกทั้งในด้านการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านไปยังการรณรงค์สร้างเจตคติและจิตสำนึก ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปยังความปลอดภัยในสถานศึกษา ในด้านการรณรงค์สร้างเจตคติและจิตสำนัก มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการจัดหลักสูตรสวัสดิศึกษา ผ่านการจัดบริการด้านความปลอดภัยไปยังความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ผลการยืนยันโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยภายใต้สังคมพหุนิยม ในโรงเรียนขนาดใหญ่ พบว่า ปัจจัยโมเดลเชิงสาเหตุมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในระดับมาก ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการบริหารสถานศึกษาให้ปลอดภัยว่า ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการประเมินเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาของพื้นที่จุดเสี่ยง รวมถึงการกำหนดมาตรการและการลงมือปฏิบัติด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างจริงจัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2552). หนังสือการ์ตูนชุด “เรียนรู้สาธารณภัย” ตอน ความปลอดภัยในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร. ฝ่ายผลิตสื่อโสตทัศนูปกรณ์และสิ่งพิมพ์ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.
กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กฤษฎา ศรีสุชาติ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคู่มือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ศิริพร อนุสภา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนในครอบครัวซาเลเซียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมจินตนา คำพินิจ, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี. วารสาร มฉก. วิชาการ, 11(21), 1-15
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556). กรุงเทพฯ: สำนักอำนวยการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). จำนวนโรงเรียน นักเรียน ครู/ลูกจ้าง และห้องเรียน จำแนกตามขนาดจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2566. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศร ดีปานธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2553). รู้รักษาตน เป็นคนปลอดภัย: แนวคิดและแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ เรื่องการดูแลความปลอดภัยให้ตนเองและผู้อื่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
David, P. (2016). Policies, practices, and procedures: A study of Indiana school safety. Doctoral dissertation. Ball State University, Muncie, IN.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson.
Jaworowski, H. L. (2003). The relationship of organizational health and school safety to student achievement. Doctoral dissertation. The College of William and Mary Williamsburg, Virginia.
Munro, B. H. (2001). Statistical methods for health care research (4th ed.). Philadelphia: Lippincott & Wilkins.
Pollack, I. & Sunderman, C. (2000). Management school (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Stevens, J. P. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Eribaum Associates.
Tabachnick, B. G. & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics (5th ed.). Boston: Pearson Education.
Turki, A. (2014, July). Determining the causal relationship among balanced scorecard perspectives on school safety performance: Case of Saudi Arabia. Accident Analysis & Prevention, 68 (2), 57-74.