สมรรถภาพทางกายนักกีฬาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายนักกีฬาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ ปีการศึกษา 2566 และเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักกีฬามหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 138 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า เพศชาย ระดับสมรรถภาพทางกายปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับดี เพศหญิงระดับสมรรถภาพทางกายต่ำ ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำ ทดสอบแรงบีบมือ เพศชายระดับสมรรถภาพทางกายปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิงระดับสมรรถภาพทางกายปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำมาก ทดสอบแรงเหยียดขา เพศชายระดับสมรรถภาพทางกายปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำ เพศหญิงระดับสรรถภาพทางกาย ปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำมาก ทดสอบทุ่มบอลเพศชายระดับสมรรถภาพทางกายปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิงระดับสมรรถภาพทางกายดี ส่วนมากอยู่ในระดับดี ทดสอบยืนกระโดดสูง เพศชายระดับสมรรถภาพทางกายปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำ เพศหญิงระดับเกณฑ์สมรรถภาพทางกายต่ำ ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำมาก ทดสอบวิ่งเก็บของ 3 จุด เพศชาย ระดับสมรรถภาพทางกายปานกลาง ส่วนมากอยู่ในระดับดีมาก เพศหญิงระดับสมรรถภาพทางกายต่ำ ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำมาก ทดสอบวิ่งเร็ว 40 เมตร เพศชายระดับ สมรรถภาพทางกายต่ำมาก ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิงระดับสมรรถภาพทางกายต่ำ ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำมาก ทดสอบวิ่ง Multistage Fitness Test เพศชายระดับสมรรถภาพทางกายต่ำ ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำ เพศหญิงระดับสมรรถภาพทางกายต่ำมาก ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำมาก จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักกีฬาในระดับปานกลาง ต่ำและต่ำมาก ซึ่งควรเร่งให้ข้อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬากับผู้ฝึกสอนและนักกีฬาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สมรรถภาพทางกายเบื้องต้น เป็นแนวทางกำหนดรูปแบบการฝึกซ้อม ติดตาม ประเมินผลความก้าวหน้าของนักกีฬา รวมทั้งการคัดเลือกนักกีฬาของผู้ฝึกสอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
คุณาวุฒิ วรรณจักร และพิมลพรรณ ทวีการ. (2563). การศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาแต่ละตำแหน่งในนักกีฬาแฮนด์บอลชายระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิจัย มข, 22(1), 177-185.
จิตติ ชนะฤทธิชัน, กฤตนัน หัสดิเสวี, ธนาศิลป์ ทองสมจิตต์, วัชรพล เคนศรี, อานนท์ วันลา, อำนวยโชค รื่นเริง, ดารณี ลิขิตวรศักดิ์. (2566). สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาเป็นเลิศระดับจังหวัด.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 12(2), 70-79.
จตุรภุช บุษรา, จรัสพร ปัสสาคํา, เมลานี อุระสนิ, และเพ็ณสินี พนาสิริวงศ์. (2565). ผลฉับพลันของโปรแกรมอบอุ่นร่างกายและเสริมสร้างสมรรถภาพที่มีต่อความมั่นคงแกนกลางลำตัวและพลังของกล้ามเนื้อขา ในนักกีฬาฟุตบอล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 14(2), 21-35.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2561). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สินธนาก๊อปปี้ เซนเตอร์ จำกัด.
ณัฎฐาพร แก้วโชติ และทิพย์สุดา บานแย้ม. (2566). ศึกษาผลของการยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังด้วยเทคนิคการหดตัวคลายตัวกล้ามเนื้อตัวต้านหดตัวกับเทคนิคแอคทีฟรีลีสในผู้ที่ออกกำลังกายต่ำ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 24(1), 14-28.
ธรวรรณพร ศรีเมือง, อนวรรต แซ่ลิ้ม และเทพประกรรัมย์ พันธ์เลิศ. (2565). ผลการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อระยะความเร็ว 20 เมตร ของนักกีฬาฟุตซอลชาย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 75-82.
ปิยะพงศ์ กู้พงศ์พันธ์, ชิดชนก ศรีราช และชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร. (2566). การศึกษาสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 17(4), 55-67.
พิชญาภา จันทศรี, ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. (2565). กลยุทธ์การจัดการคุณภาพโดยรวมเพื่อส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(4), 201-207.
พัชรินทร์ ตั้งชัยสุริยา. (2563). ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิตที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬาในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มลรักษ์ เลิศวิลัย. (2564), ผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 529-542.
ไวพจน์ จันทร์เสม. (2562). ผลของการฝึกเสริมพลังกล้ามเนื้อขาด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศควบคู่กับการฝึกความเร็วในการวิ่งบนเครื่องวิ่งแบบโค้งที่มีต่อเวลาในการวิ่งระยะทางต่างๆ ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(2), 57-70.
สืบสาย บุญวีรบุตร. (2565). จิตวิทยาการกีฬากับการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา, 1(1), 74-77.
สุรพศ ไกรเกตุ. (2564). การเปรียบเทียบผลของการฝึกคอนทราสต์และการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อพลังของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ เกิดจันทึก. (2565). การทดสอบสมรรถภาพทางกายนักกีฬา. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา, 1(1), 78-86.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). เกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มีเดีย เพลส.
อัครัช นวลละออง, รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน และก้องเกียรติ เชยชม. (2565). การศึกษาปัญหาการฝึกซ้อมกีฬาฟุตบอลไทยลีก 3 โซนใต้ฤดูกาล 2020. วารสารวิชาการม หาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 14(1), 277-290.
อัครเศรษฐ์ เลิศสกุล. (2563). ผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความ สามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Becer, E., & Eliöz, M. (2020). The Effect of the trainings in the naval academy on the aerobic anaerobic and respiratory parameters of students. International Journal of Applied Exercise Physiology, 9(1), 58-64.
Poon, E. T. C., Siu, P. M. F., Wongpipit, W., Gibala, M., & Wong, S. H. S. (2022). Alternating high-intensity interval training and continuous training is efficacious in improving cardiometabolic health in obese middle-aged men. Journal of Exercise Science & Fitness, 20(1), 40-47.
Rahman, M. H., & Islam, M. S. (2020). Stretching and flexibility: A range of motion for games and sports. European Journal of Physical Education and Sport Science, 6(8).
Saghiv, M.S., Sagiv, M.S. (2020). Oxygen Uptake and Anaerobic Performances. In: Basic Exercise Physiology: Clinical and Laboratory Perspectives. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-48806-2_3