ผลการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้รวมพลังสร้างอาชีพ และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้รวมพลังสร้างอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียน ปริยัติไพศาล อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำนวน 17 คน โดยได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ รวมพลังสร้างอาชีพ จำนวน 4 แผน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม แบบสังเกตสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
และการทดสอบโดยวิลคอกซัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 42.06 และ 76.18 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.18 และสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนเกิดความแปลกใหม่ นักเรียนมีอิสระในการทำงานร่วมกันแสดงความคิดเห็นและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กิติพงษ์ ลือนาม. (2564). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราชมาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.
ณัฐวดี กูละพัฒน์ และสิรินาถ จงกลกลาง. (2564). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารราชพฤกษ์, 20(1), 59-70.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นริสรา แสนโคตร และสิรินาถ จงกลกลาง. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, คณะศึกษาศาสตร์, การศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ สำหรับยุคหลังการแพร่ระบาดและอนาคต การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2566 (ICE 2023) (น. 403-415).
ประเสริฐ อุตรา และสิรินาถ จงกลกลาง. (2566). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 55-64.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ). [ออนไลน์]. ได้จาก: https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนา/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565]
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สิรินาถ จงกลกลาง. (2561). วิทยาการการจัดการเรียนรู้. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สิรินาถ จงกลกลาง. (2562). วิทยาการการจัดการเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) . นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สิรินทร์นิชา ปัญจอริยะกุล. (2563). การวัดผลและประเมินผลการศึกษา Educational Measurement and Evaluation (พิมพ์ครั้งที่ 1, ฉบับปรับปรุง). เชียงใหม่: ส. อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด.
สุนันท์ สีพาย. (2564). การพัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลการวิจัยทางการศึกษา. ชัยภูมิ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิญญา สืบมา. (2564). ผลการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หน่วยการเรียนรู้ อ่าน คิด เขียน เรียนเพื่อใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Johnson, D. W. & Johnson, R. T. (1987). Learning together and alone Cooperative, competitive and individualistic learning (2nd Ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.
Slavin. (1995). Cooperative Learning: Theory, research and practice ( 2nd ed). Massachusetts: Simon& Schuster.