ผลการฝึกด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ยกสูงที่มีต่อสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและปฏิกิริยาในนักศึกษาที่เรียนวิชาแฮนด์บอล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ยกสูงต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและปฏิกิริยาตอบสนองก่อนการฝึกและหลังการฝึกโปรแกรมการฝึกด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ยกสูงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิที่เรียนวิชาแฮนด์บอล จำนวน 60 คน และทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้โปรแกรม การฝึกด้วยตาราง เก้าช่องประยุกต์ยกสูงเป็นเครื่องมือ โดยผู้วิจัยนำผู้เข้ารับการทดลอง 60 คน มาทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและปฏิกิริยาตอบสนองก่อนเข้าโปรแกรมการฝึกด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ยกสูง จากนั้นนำผู้เข้ารับการทดลอง 60 คนเข้าโปรแกรมการฝึกด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ยกสูงจำนวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี เวลา 17.00 - 18.00 น. หลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ผู้วิจัยนำผู้เข้ารับการทดลอง 60 คน ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและปฏิกิริยาตอบสนองนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณความแตกต่างของค่าเฉลี่ย t – test dependent
ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมการฝึกด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ยกสูงส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและปฏิกิริยาตอบสนองของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิที่เรียนวิชาแฮนด์บอลดีขึ้น โดยการทดสอบความแตกต่างของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาก่อนการฝึกมีความแตกต่างจากหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทดสอบความแตกต่างปฏิกิริยาตอบสนองก่อนการฝึกมีความแตกต่างจากหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการฝึกด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ยกสูง ส่งผลให้สมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
จิดาภา ศิริวรรณ์. (2562). ผลของไซมอนเอฟเฟคทางการ ได้ยินที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาและความถูกต้อง ของการตอบสนองในนักกีฬาฟุตซอลเพศชาย. https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9484/
วันเพ็ญ สุวรรณชัยรบ และจิรวัฒน์ ขจรศิลป์. (2563). ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีขนาดต่างกันควบคู่กับการฝึกความอ่อนตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาวอลเลย์บอล. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 16(1), 163-176.
ศิราเมษฐ์ ม่วงสุวรรณ์. (2564). การเปรียบเทียบผลของการฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าด้วยตารางเก้าช่องและ บันไดเชือกที่มีต่อความเร็วในการวิ่งของนักฟุตบอลหญิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: Comparison of the Effects of Reactive Foot Speed Training Using Nine Square and Ladder on The Speed of Kasertsart University Women's Soccer Players. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 47(1), 125-136.
สมพร ส่งตระกูล. (2565). ผลของการฝึกตารางใยแมงมุมและตารางเก้าช่องที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของนักกีฬาวอลเลย์บอล: Effects of Spider Web Table and Nine Square Training Programs on Muscle Strength, Agility and Speed of Volleyball Players. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 48(1), 364-378.
อทิติ วลัญช์เพียร. (2566) . ผลของการฝึกด้วยการประยุกต์สถานีฝึกแบบมวยสากลที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ของบุคคลทั่วไป. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(1), 164-178.
Apanukul, S. (2019). การวางแผนพัฒนาความแข็งแรง. Journal of Sports Science and Health, 20(3), 1-14.
Ayubovna, S. M. (2023). Physiological Basics of Forming Movement Skills and Teaching Sports Techniques. Intersections of Faith and Culture: American Journal of Religious and Cultural Studies (2993-2599), 1(9), 87-94.
Donnor, J. K. (2020). Towards an interest-convergence in the education of African-American football student athletes in major college sports. In Critical Race Theory in Education (pp. 57-79). Routledge.
James, E. (2023). Practical Training for Running, Walking, Rowing, Wrestling, Boxing, Jumping...: And All Kinds of Athletic Feats, Together with Tables of Proportional Measurement. Good Press.
Lilley, L. L., Collins, S. R., & Snyder, J. S. (2022). Pharmacology and the Nursing Process E-Book. Elsevier health sciences.
Praisin, A., Wannakayont, A., Rungruang, L., & Wannakayont, N. (2022). Public Relations of Research in Housing Design for the Elderly and Mobility Disabled People Based on People Based on Universal Design Concept through the Online Social Media. Journal of MCU Nakhondhat, 9(4), 126-139.
Qiu, L., Dong, S., Yu, X., & Han, B. (2021). Self-sensing ultra-high performance concrete for in-situ monitoring. Sensors and Actuators A: Physical, 331, 113049.
Sartori, R., Romanello, V., & Sandri, M. (2021). Mechanisms of muscle atrophy and hypertrophy: implications in health and disease. Nature Communications, 12(1), 330. https://doi.org/10.1038/s41467-020-20123-1
Siedentop, D., & Van der Mars, H. (2022). Introduction to Physical Education, Fitness, and Sport. Human kinetics.
Yongtawee, A., Park, J., Kim, Y., & Woo, M. (2022). Athletes have different dominant cognitive functions depending on type of sport. International Journal of Sport and Exercise Psychology, 20(1), 1-15.
Youyen, M. (2022). Effect of Nine Squares Training with Muscle on Balance and Agility of Children with Special Needs: Integration Learning. Academic Journal of Thailand National Sports University, 14(3), 241-252.