การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูวิทยาการคำนวณในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูวิทยาการคำนวณในศตวรรษที่ 21 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูวิทยาการคำนวณในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครูสำหรับการพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูวิทยาการคำนวณในศตวรรษที่ 21 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 294 คน และกลุ่มครูสำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองตัวบ่งชี้สมรรถนะครูวิทยาการคำนวณในศตวรรษที่ 21 จำนวน 363 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูวิทยาการคำนวณในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 69 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 21 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 จรรยาบรรณวิชาชีพครู จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สื่อ/นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่หลากหลาย จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาตนเอง จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 6 ทักษะในการใช้เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้
2. โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอับดับที่สองของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูวิทยาการคำนวณในศตวรรษที่ 21 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีมาก (= 1891.044, df = 1809, P-value = 0.0877, CFI = 0.994, TLI = 0.993, RMSEA = 0.016, SRMR = 0.038, /df = 1.045)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
จีรวัฒน์ วีรังกร. (2558). ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดดูเคชั่น.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมศึกษา และทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12(2), 47-63.
ชนันภรณ์ อารีกุล. (2561). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ. วิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประยูร บุญใช้. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 118-137.
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2558). ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). https://aseanwisdom.buu.ac.th/aboutus_01.html
วิทยา อินทร์สอน. (2545). สมรรถนะ (Competency). กรุงเทพมหานคร: บริษัท บีทีเอสเพรส จำกัด.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ค่าสถิติพื้นฐาน O-net ทั่วประเทศ (ทุกระดับ). http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). แผน 5 ปี “IPST 3I 2H สร้างคนคุณภาพเป็นพลังแห่งอนาคต”. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุนันท์ สีพาย. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(2), 246-255.
เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1), 15-42.
แสงเพ็ช ทองไชย. (2552). การพัฒนามาตรฐานและตัวบ่งชี้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาของผู้สอนโดยใช้เทคนิคเดลฟาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2554). ประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เรื่องการคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2554. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Geiser, C. (2013). Data Analysis with Mplus. NY: The Guilford Press.
Kelloway, K.E. (2015). Using Mplus for structural Equation Modeling (2nd ed). CA: Sage.