ผลของการสอนด้วยการเล่าเรื่องที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ ปัชมาชัยวัฒน์
มาลินี ไพบูลย์นุกูลกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนด้วยการเล่าเรื่องที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของผลสัมฤทธิ์การเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 50 และ 3) สำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนด้วยการเล่าเรื่อง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 10 คน จากโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอน โดยใช้การสอนด้วยการเล่าเรื่อง แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนด้วยการเล่าเรื่องสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Kolmogorov-Smirnov test, t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา 


          ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การสอนด้วยการเล่าเรื่องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนด้วยการเล่าเรื่องอยู่ในระดับ
พึงพอใจอย่างยิ่งที่ระดับ (gif.latex?x\bar{} = 4.82) แสดงให้เห็นว่าการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนด้วยการเล่าเรื่องสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จุฬาลักษณ์ ปัชมาชัยวัฒน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มาลินี ไพบูลย์นุกูลกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

References

Brown, H. D. & Lee, H. (2015). Teaching by principles. An interactive approach to language pedagogy (4th ed.). New York: Pearson Education.

Hettiarachchi, S., Walisundara, D. C. & Ranaweera, M. (2022). The effectiveness of a multisensory traditional storytelling programme on target vocabulary development in children with disabilities accessing English as a second language: A preliminary study. Journal of Intellectual Disabilities, 26(1), 90-108.

Malderez, A. (2010). Stories in ELT: Telling tales in school. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 3, 7-13.

Schmitt, N. (1995). Vocabulary notebooks: Theoretical underpinnings and practical suggestions. ELT Journal, 49(2), 133-143.

Schmitt, N. (2019). Understanding vocabulary acquisition, instruction, and assessment: A research agenda. Language Teaching, 52(02), 261-274.

Schmitt, N. (2000). Vocabulary in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Shilc, M., Schmidt, M., & Kosir, S. (2017). Pragmatic abilities of pupils with mild intellectual disabilities. Journal of Special Education and Rehabilitation, 18(1-2), 23-27.

Shin, J. K. (2016). Language education for children with mild intellectual disabilities by utilizing digital storytelling. Proceedings of EdMedia 2016--Word Conference on Educational Media and Technology (pp. 52-56). Vancouver: Association for the Advancement of Computing in Education (AACE).

Villaroel, M. (1997). Los cuentos en el aula de Primaria: Teacher Line News, Views, and Things to Do. Madrid: Longman.