การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และความไว้วางใจ ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนของผู้บริโภคในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

Yuxin Li
นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ความไว้วางใจ และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนของผู้บริโภคในเขตภาคเหนือของประเทศไทย (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนของผู้บริโภคในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภควัยทำงาน อายุ 20-60 ปี ที่มีความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีน จำนวน 385 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้านการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงาน การส่งเสริมการขาย การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง ความไว้วางใจ และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนอยู่ในระดับมาก การตลาดแบบบูรณาการด้านการตลาดทางตรง (gif.latex?\beta = 0.263) การส่งเสริมการขาย (gif.latex?\beta = 0.162) การขายโดยใช้พนักงาน ( gif.latex?\beta= 0.158) ความไว้วางใจ (gif.latex?\beta = 0.146) การโฆษณา (gif.latex?\beta = 0.133) และการให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ (gif.latex?\beta = 0.091) มีผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนของผู้บริโภคในเขตภาคเหนือของประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถทำนายความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนของผู้บริโภคในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ได้ร้อยละ 71.7 ผู้ประกอบการด้านยานยนต์ไฟฟ้าและภาครัฐที่ดูแลด้านพลังงานควรประยุกต์ใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และความไว้วางใจ  ในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดให้ผู้บริโภคมีความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

Yuxin Li, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2566). จำนวนรถจดทะเบียนใหม่ จำแนกตามชนิดเชื้อเพลิง. https://web.dlt.go.th/statistics/

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขจีวรรณ เกตุวิทยา. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อนาฬิกาอัจฉริยะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ถวัลย์ วัชรชัยกุล. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน ยี่ห้อ Huawei ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไทยรัฐออนไลน์. (2566ก, 16 เมษายน). ไทยเบอร์หนึ่งยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน เร่งเพิ่มจุดชาร์จรองรับผู้ใช้. https://www.thairath.co.th/news/auto/evcar/2680240

ไทยรัฐออนไลน์. (2566ข, 7 พฤศจิกายน). ขนส่งฯ เผยยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าปี 66 แตะ 73,341 คัน เติบโต 399.05%. https://www.thairath.co.th/news/auto/evcar/2738620

ธีรภัทร์ ศุจิจันทรรัตน์. (2555). การเปิดรับสื่อการตลาดแบบบูรณาการ ความไว้วางใจและคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค กรณีศึกษา ตราสินค้าแอปเปิล. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยพงษ์ สัจจาพิทักษ์. (2560). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าโอทอป. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เผด็จ ทุกข์สูญ. (2560). หลักการตลาด. ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

พลกฤษณ์ ทองสงค์. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและความไว้วางใจต่อตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมธิชา เสถียรจิตร. (2559). การสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อประกันชีวิตผ่านช่องทางธนาคารของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัส จังหวัดสตูล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รชฏ เลียงจันทร์. (2565). รถยนต์ไฟฟ้า: ความต้องการและโอกาสที่กำลังมาถึง. วิจัยกรุงศรี. https://www.krungsri.com/getmedia/a6417946-053e-4c67-9a18-b92e0c3c23b8/RI_EV_Survey_220307_TH_EX.pdf.aspx

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

อัญชลี เพชรคง. (2559). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าและการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อความตั้งใจเลือกใช้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decision processes, 50(2), 179-211.

Bangkokbiznews. (2023, 9 พฤศจิกายน). เปิด 10 อันดับ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ยอดจดทะเบียนตั้งแต่ต้นปี 66 แรงจัดแซงทุกโค้ง. https://www.bangkokbiznews.com/auto/1097940

Crotts, J. C., & Turner, G. B. (1999). Determinants of intra‐firm trust in buyer‐seller relationships in the international travel trade. International journal of contemporary hospitality management, 11(2/3), 116-123.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing. McGraw-Hill/Irwin.

Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.). Thousand Okes CA: Sage.

Gaiserc, T., J. & Schreiner, A., E. (2009). Research Standards and Ethical Consideration. In A Guide to Conducting Online Research. (pp. 25-35). SAGE Publications Asia-Pacific Pte Ltd.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). New Jersey: Prentice – Hall.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principle of Marketing. United States of America: Prentice – Hall.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing Management (13th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Sawaftah, D. (2020). The effectiveness of electronic integrated marketing communications on customer purchase intention of mobile service providers: The mediating role of customer trust. Journal of Sustainable Marketing, 1(1), 47-61.

Stern, B.B. (1997). Advertising intimacy: relationship marketing and the services consumer. Journal of advertising, 26(4), 7-19.