โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

จิรกาญจน์ แผนกุล
อรพรรณ ตู้จินดา
ดวงใจ ชนะสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาระดับของการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา 2)  ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 วิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 500 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ระยะที่ 3 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล  เชิงทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์
ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้อง คือ แบบตรวจสอบยืนยันโมเดลเชิงสาเหตุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า


1. ระดับของการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารงานบุคคล ภาวะผู้นำ การบริหารหลักสูตร การจัดบรรยากาศองค์การ นวัตกรรมการศึกษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ตามลำดับ


2. ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยเรียงลำดับค่าอิทธิพลจากมากไปน้อย ประกอบด้วย นวัตกรรมการศึกษา การบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารหลักสูตร การบริหารงานบุคคล การจัดบรรยากาศองค์การ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาค่า CMIN/df เท่ากับ 1.341 ค่า p-value เท่ากับ 0.210 ค่า GFI เท่ากับ 0.995 ค่า AGFI เท่ากับ 0.973 ค่า CFI เท่ากับ 1.000 ค่า NFI เท่ากับ 0.998 ค่า IFI เท่ากับ 1.000 ค่า RFI เท่ากับ 0.992 ค่า RMR เท่ากับ 0.001 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.024


          เมื่อพิจารณาอิทธิพลรวมโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ประกอบด้วย การบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ภาวะผู้นำ การบริหารหลักสูตร การบริหารแบบมีส่วนร่วม และนวัตกรรมการศึกษา ตามลำดับ


3. ผลการตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โมเดลมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิรกาญจน์ แผนกุล, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,ประเทศไทย

อรพรรณ ตู้จินดา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,ประเทศไทย

ดวงใจ ชนะสิทธิ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,ประเทศไทย

References

จรุณี เก้าเอียน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

จิตรจรูญ ทรงวิทยา. (2561). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา, Journal of Roi Kaensarn Academi. 3 (1), 41-57.

ฉวีวรรณ แผ่วตะคุ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นเลิศของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชุมสาย บวรศักดิ์เสถียร. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 3(2), 49-56.

ณัฐมนต์ ชาญเชิงค้า. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 24 (3), 87–101.

ทนงศักดิ์ นาคแก้ว. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์. 7(2), 97-110.

ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์. (2551). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศร.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

นิฟิรดาวส์ นิ. (2563). ทบทวนมุมมองการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในยุคสังคมพลิกผัน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 12(1), 111-125.

บุพกานต์ ศรีโมรา. (2562). ความหลากหลายของนวัตกรรมการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุทธชาต นาห่อม. (2564). การบริหารสถานศึกษา บนฐานความปกติใหม่. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 (18 สิงหาคม หน้า 1208-1217). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รังสรรค์ อ้วนวิจิตร. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เรณู บุญเสรฐ (2561). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสู่ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(1), 299-313.

วรรณิศา โมราบุญ. (2559). ปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 146-156.

สมหมาย เทียนสมใจ. (2559). รูปแบบการบริหารานที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัมฤทธิ์ ต้นสวรรค์. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตตรวจราชการที่ 11. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://www.obec.go.th/about/นโยบายสพฐ-ปีงบประมาณ 2566

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในประเทศไทยและประเทศที่คัดสรร เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21. นนทบุรี: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ. (2560). แผนปฏิบัติราชการประจำปี. ชัยภูมิ: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ.

สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชา เงินแพทย์. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและบรรยากาศโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(1), 91-109.

อุมาพร กาญจนคลอด. (2558). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของประสิทธิผลในการจัดการนวัตกรรมหลักฐานเชิงประจักษ์ของเทศบาลในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Amadi-Eric, C. (2016). Introduction to educational administration a module. Nigeria: Harey Publications.

Birkinshaw, J., Hamel, H. & Mol, M. J. (2008). Management innovation. Academy of Management Review, 33(4), 825-845. https://www.researchgate.net/publication/258242985_Management_innovation_Acad_Manage_Rev

Gibson, J. L., Ivancevich, M. & Donnelly, J. Jr. (1982). Organizations: Behavior, structure process (4th ed.). Texas: Business Publication.

Halpin, A. W. & Crofts, D. B. (1966). The original climate of schools. Chicago: University of Chicago.

Igunnu, A. (2020). Study of quality assurance in examination conduction and administrative effectiveness of principals in public and private secondary schools in Niger State. Nigeria International Journal of Research in Social Science and Humanities (IJRSS). 1(3), 1-8.

Zamir, N. A. (2020, March). A review of school effectiveness theory for school improvement. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 10(3), 113–123.