This is an outdated version published on 2023-02-27. Read the most recent version.

การสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา กรณีการวิ่งรับเงินบริจาค “ตูน บอดี้สแลม

ผู้แต่ง

  • ปทุมพร ทองสิน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ปวีณ์นุช มีเสน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ธัญชนก แก้วทับทิม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความเท่าเทียม, การศึกษา, การบริจาค

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมต่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา (2) เพื่อศึกษาฐานแนวคิดจากการบริจาคเพื่อการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา (3) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการศึกษา เกี่ยวกับการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา กรณีการวิ่งรับเงินบริจาค “ตูน บอดี้สแลม” กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลหลักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัยและกลุ่มครูจากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงในการสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กรณีการวิ่งรับเงินบริจาคของตูน บอดี้สแลม ไม่สามารถสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาเพราะ แก้ปัญหาได้เฉพาะกลุ่มคนที่ได้รับการคัดเลือกมาแล้ว และการวิ่งรับเงินไม่สามารถแก้ปัญหาเด็กที่ขาดแคลนทุนการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ความเสมอภาคทางการศึกษา คือ การเข้าถึงนโยบายทางการศึกษา เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางสังคม คือ ความห่างกันของโอกาส มีโอกาสไม่เท่ากัน โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ประกอบไปด้วย 1. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ 2. ปัจจัยทางด้าน 3. ปัจจัยทางด้านการเมือง ข้อเสนอแนะในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา มีดังนี้ 1. การศึกษาเป็นสิ่งพื้นฐานที่ควรให้กับทุกคนในประเทศไทย 2. การล้มเลิกค่านิยมปริญญา เพราะการเรียนควรจะเป็นพัฒนาทักษะ 3. นโยบายของรัฐบาล การจัดสรรงบประมาณทางการศึกษา การบริหารจัดการที่ดีและมีระบบวางโครงสร้างการศึกษาใหม่ 4. การแก้ไขปัญหาทางสังคมลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

References

นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2540). ทฤษฎีและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540. น.3

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช

ภิรมย์ จีนธาดา เอกรินทร์ สังข์ทอง และเรชา ชูสุวรรณ. (2563). องค์ประกอบในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความยุติธรรมทางสังคม ในสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 136-147.

วิทยากร เชียงกูล. (2552). (พิมพ์ครั้งที่ 2). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 : ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น

วาสนา จักรแก้ว และคณะ. (2561). การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็กด้อยโอกาส. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3).

สมจินตนา คุ้มภัย. (2563). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนมัธยมในเขตเมืองกับโรงเรียนมัธยมนอกเขตเมืองในจังหวัดนครศรีธรรมราช : โครงการวิจัยชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ความทั่วถึงและเท่าเทียมของการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริจาคของคนไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 31-53.

อำนาจ มงคลสืบสกุล. (2563). ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกับสิทธิมนุษยชน :ความเปราะบางของสังคมในสถานการณ์ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565, จาก http://ucl.or.th/?p=3472

เรียมลักษ์ วิระพันธุ์และสมพงษ์ จิตระดับ. (2564). การศึกษาสภาพชีวิตเด็กที่เสี่ยงต่อการออกกลางคันของ

นักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนวัดข้างคลองสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.

Jacob and Hotsinger. (2009). Inequality in Education: A Critical Analysis. Retrieved 2022 January 6, from https://www.academia.edu/26712655/Inequality_in_Education_A_Critical_Analysis

Oviedo, Monica Juliana. 2009. Expansion of Higher Education and the Equity of Opportunity in Colombia, Research work presented for M.R. (Applied Economic), Universitat Autonoma de Barcelona.

Royal Thai Government Gazette. (2018). National Strategy 2018-2037. Bangkok: Office of the Council of State. (in Thai) Schmidt, William H. 2011. “Equality of Educational Opportunity, Myth or Reality in U.S. Schooling?” American educator winter 2010-2011. 34(4), 12-19.

The MATTER. (2019). มองปัญหาการศึกษา ผ่าน Data ที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย. . Retrieved 2021 January 6, from https://thematter.co/brandedcontent/gse-2019-limited-education-05/86262

The Secretariat of the House of Representatives. (2020). Statement of Policy: Prayut Chan-ocha (1) . [Online]. Retrieved 2022 January 9, from https://library2 .parliament.

go.th/giventake/content_sp/sp61.pdf (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-27

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย