การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
การบริหารความเสี่ยง, ผู้บริหารสถานศึกษา, มาตรฐานการควบคุมภายในบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ ตำแหน่งการทำงาน และประสบการณ์ในทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติงานในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 202 คน และสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากแบบไม่กลับคืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่า 1.00 และหาค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ 0.991 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีอิสระ การทดสอบค่าเอฟ และทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่มีเพศต่างกันมีความเห็นต่อการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานการควบคุมภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงการคลัง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์การควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561. กค 0409.3/ว 105 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2561
ชินภัทร ภูมิรัตน์. (2552). การจัดการความรู้ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ชูศักดิ์ หงส์มาลา. (2560). สภาพการบริหารงานพัสดุตามมาตรฐานการควบคุมภายในของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัชธิญา ปัทมทัตตานนท์. (2553). การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โนเรีย บินหะยีนิยิ. (2555). การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี. (565). รายงานผลการดำเนินการงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี.
พุฒิสรรค์ ศรีรัตนประชากูล. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 41 ก. หน้า 2. 3 มีนาคม 2551.
ไพรวัลย์ คุณาสถิตชัย. (2553). การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มูฮำหมัด กาเซ็ม. (2559). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดวาง ระบบการควบคุมภายในของผู้บริหารในหน่วยตรวจรับจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุภา วิเศษศร. (2550). การประเมินระบบควบคุมภายในของมหาวิทยาลัยแม่โจ้. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภทัต กิจสำราญ. (2560). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมชิต บรรทิต. (2556). ศึกษาระดับการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สราวุธ ชุมภูราช. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุมนา เสือเอก. (2553). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
อับดุลเลาะ นิตีเมาะ. (2559). การบริหารความเสี่ยงโรงเรียนขนาดเล็กของผู้บริหาร ตามทัศนะของข้าราชการครู ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.