การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่บ้านศรีสุข ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • สุรัตน์ ทิมอิ่ม คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การดำเนินงาน, วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่บ้านศรีสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่บ้านศรีสุข ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและจากหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1 คนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 9 คนรวมทั้งสิ้น 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโดยมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การจัดหาทรัพยากร การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าสู่ท้องตลาด 2) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ ปัญหาไม้ไผ่ในพื้นที่มีไม่เพียงพอและหายาก ปัญหาที่เกิดจากสมาชิกภายในกลุ่มจักสานเองและปัญหาการจำหน่ายสินค้าสู่ท้องตลาด 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน คือ หน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการจักสานแก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของกลุ่มและควรเข้ามายกระดับคุณภาพและมาตรฐานในการผลิตรวมทั้งช่วยกำกับดูแลเรื่องลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ

References

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มริสา พุทโกสิทธิ์, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, อุดมศักดิ์ เดโชชัย และเดโช แขน้ำแก้ว. (2563). แนวทางการอนุรักษ์องค์ความรู้ในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่ในชุมชนกรณีศึกษา กลุ่มจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านท่าช้าง ตำบลช้างซ้ายอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 3(1), 56-67.

รุ่งฤทัย รำพึงจิต และอภิรัติ โสฬศ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสุโขทัยสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์จากผ้า ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย. วารสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 13(4), 268–278.

เสรี พงส์พิศ. (2552). คู่มือทำวิสาหกิจชุมชน. พลังปัญญา.

สุกัลยา พยุงสิน. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรณีศึกษาบ้านวังขรณ์ หมู่ 11 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 16(2), 45-58.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย