การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา: บทสะท้อนผู้มีส่วนได้เสีย โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)

ผู้แต่ง

  • นลธวัช บุญเรือง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหาดใหญ่) สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ผู้มีส่วนได้เสีย, สมรรถนะ, คุณลักษณะอันพึงประสงค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์งานวิจัย 1) เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)  2) เพื่อหาแนวทางการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น กลุ่ม ประชากรคือ ครู ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา 290 คน กลุ่มตัวอย่าง ครู ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา 44 คน วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้ปกครอง 165 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่าง 209 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย SD. การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.ความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ ในระดับมาก คือ ด้านนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และด้านงบประมาณและทรัพยากร จากสนทนากลุ่ม คือ 1) ด้านองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร เป็นไปตามความต้องการของผู้รับบริการ 2) ด้านสมรรถนะผู้เรียนด้านจัดการตนเอง ยังไม่เป็นที่คาดหวังด้านการคิดขั้นสูง ต้องมีการช่วยเหลือโดยผู้ปกครองและครู ด้านการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเได้ มีเหตุผล ด้านการทำงานเป็นทีม เข้ากับเพื่อนได้ ด้านเป็นพลเมืองที่เข็มแข็ง ตระหนักในการเป็นพลเมืองดี ด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนเช่น ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็น ด้านทักษะอาชีพ ช่วยเหลือกิจกรรมของครอบครัว 3) ด้านจัดการเรียนการสอนของครู ตรงตามความสนใจความถนัดของผู้เรียน 4) มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่โรงเรียนต้องการ

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อโนมา พัฒนะราช. (2550). การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์) ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อนุรักษ์ พนารักษ์. (2551). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์) ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ธงชัย ช่อพฤกษา. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สทมส. 21, 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2558.

ดวงใจ ไชยลังการ. (2558). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (วิทยานิพนธ์) ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27