สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สมรรถนะหลัก, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, การถ่ายโอนภารกิจบทคัดย่อ
บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นด้วยวิธีการประเมินสมรรถนะหลักของบุคลากรก่อนและหลังการถ่ายโอนภารกิจจากกระทรวงสาธารสุขมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นในบุคลากร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริหาร กลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มวิชาชีพ เป็นจำนวนรวม 329 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์และลักษณะสำคัญของสมรรถหลัก 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม 3) ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน 4) ด้านการบริการเป็นเลิศ 5) ด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม
ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 3 กลุ่มภายหลังการถ่ายโอนภารกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 สมรรถนะด้านการบริการเป็นเลิศและด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีมมีผลการประเมินสูงที่สุดเป็นสองอันดับแรก ทั้งนี้ ควรทำการเสริมทักษะและสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างองค์กรผ่านการสัมมนาการเรียนรู้องค์กร การทำงานร่วมกันเป็นทีม การผลิตตัวชี้วัดการทำงานร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถพัฒนาสมรรถนะหลัก
References
สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2563). รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care). สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2563). รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563. บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม, กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ และปานปั้น รองหานาม. (2566). การขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (2565). องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นพร้อมรับถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารคณแคน, 17(1), 1-30.
สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2558). รายงานประจำปี 2558 คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
Spencer M. Lylm. and Spencer M. Signe. (1993). Competence at work: Models for superior performance. John Wiley & Sons.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลวง. (2563). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนท้องถิ่น. http://www.bangpluang.go.th/fileupload/3985355980.pdf
ทิวาพร พรหมจอม, ชาติชัย อุดมกิจมงคล และสัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2561). ศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(71), 97-106.
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์, โญธิกา ผลาเลิศ, พรทิพย์ คำฟัก, พัชรพร นิลน้อยศรี, และพีรวิชญ์ สุนทรนันท์. (2561) ศึกษาการประเมินสมรรถนะหลักของบุคลากรภาครัฐที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 5(1), 208-239.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.