ปัจจัยและแนวทางการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธมนวรรณ์ เฟื่องประยูร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การกำหนดราคา, ราคาค่าขนส่งสินค้า, สินค้าอาหาร

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2) กำหนดแนวทางการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือวิจัยจากการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เก็บรวบรวมข้อมูลแบบเป็นไปตามโอกาสทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทำการทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านประเภทสินค้ามีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาเป็นปัจจัยประเภทยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ปัจจัยด้านระยะทางในการขนส่งสินค้า และปัจจัยด้านปริมาณสินค้าที่จัดส่ง นอกจากนั้นสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งมีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารที่มากกว่าประเภทสินค้าอาหารแห้ง การขนส่งสินค้าอาหารด้วยระยะทางตั้งแต่ 1-10 กิโลเมตร มีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารที่ให้บริการขนส่งสินค้าระยะทางมากกว่า 20 กิโลเมตรขึ้นไป การขนส่งสินค้าอาหารโดยรถยนต์ตู้ทึบปรับอากาศมีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารมากกว่าการขนส่งสินค้าอาหารโดยรถจักรยานยนต์ การจัดส่งสินค้าอาหารในปริมาณ 100 หน่วยขึ้นไปมีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารมากกว่าการจัดส่งสินค้าอาหารในปริมาณ 1 - 20 หน่วย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ข้อมูลประเภทธุรกิจ. สืบค้นจาก https://datawarehouse.dbd.go.th/

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). กลยุทธ์การตั้งราคา. สืบค้นจาก https://bsc.dip.go.th/th/category/2017-10-27-07-51-56/2017-11-09-09-12-47.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, จำลอง วงษ์ประเสริฐ, และอวยพร เรืองตระกูล. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาพยาบาลไทย:การวิเคราะห์อภิมาน (Meta analysis). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25 (2), 71-87.

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2546). การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. สถาบันวิจัยและพัฒนา.

ธนสิทธิ นิตยะประภา. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง:วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(3), 122-128.

นิธิวงศ์ โลหะวัฒนะกุล , ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, อัครมณี สมใจ, และ วรรณนัฎฐา ขนิษฐบุตร. (2565). การจัดการโลจิสติกส์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 39-52.

นีรนุช คชวงศ์ และศักดิ์ชาย รักการ. (2564). การลดต้นทุนในธุรกิจผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 1(1), 39-52.

ประกาศสำนักงานเขตธนบุรี. (2563). มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก https://webportal.bangkok.go.th/thonburi/page/sub/1123

ประกาศประชาสัมพันธ์/0/info/189437/ประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019-COVID-19. แผนที่ไทย.คอม. (ม.ป.ป.) แผนที่เขตธนบุรี. สืบค้นจาก https://www.panteethai.com/ket_show.php?city_name=ธนบุรี&city_image=city/Thonburi.jpg

พัชรี จันทร์เพ็ง. (2553). การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33(4), 22-41.

มณิสรา บารมีชัย และบุศรินทร์ ศรีสตรียานนท์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า. การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน. สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.

วรลักษณ์ คุณทะสิงห์ และศิโรจน์ ปรีชาไว. (2555). การวิเคราะห์ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา: กิจการค้านํ้าดื่ม เค แอนด์ เค (An Analysis of the Transportation Cost: A Case Study of K & K Drinking Water Enterprise). การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน,9, 1743-1749.

ศาสตรศิลป์ รสสุคนธ์สกุล และธีระ ฤทธิรอด. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการกิจการขนส่งเอกชน กรณีศึกษา หจก.บุรีรัมย์พนมรุ้ง. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(3), 93-100.

สำนักงานการปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (2560). การแบ่งพื้นที่เขต 50 เขต. สืบค้นจาก https://office2.bangkok.go.th/ard/?page_id=4048.

สำนักงานเขตธนบุรี. (2563). จำนวนชุมชนในเขตธนบุรี. สืบค้นจาก https://webportal.bangkok.go.th/thonburi.

สริดา สาระจันทร์, ถวิล นิลใบ, และนงนุช อินทรวิเศษ. (2560). ปัจจัยในการกำหนดราคาหนังสือเล่มโดยใช้วิธี Hedonic Pricing Model. การประชุมวิชาการระดับชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2-113 - 2-145.

Best, J. W., & Kahn, J. (2006). Research in Education. New Delhi: Prentice Hall of India Pvt., Ltd.

Bowersox, D. J., Closs, D. J., & Cooper, M. B. (2009). Supply Chain Logistics Management (3rd ed.). McGraw-Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Hayton, J. (2021). Network and cost analysis of transportation system. Logistics transportation system. Elsevier.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28