https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/issue/feed วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-06-29T15:47:03+07:00 สำนักงานกองบรรณาธิการวารสารฯ ms_journal@dru.ac.th Open Journal Systems <div>วารสารฯ มี วัตถุประสงค์ <span lang="TH">1) เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่วิทยาการ ความรู้ ความคิดทางวิชาการ และวิชาชีพ</span>สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัญชี นิเทศศาสตร์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการท่องเที่ยวและบริการ เศรษฐศาสตร์ ระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) <span lang="TH">เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาด้านวิทยาการจัดการที่จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป โดยรับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการ ที่มีคุณค่าทางวิชาการ สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฏีและเชิงปฏิบัติได้อย่างกว้างขวาง</span> </div> https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/1153 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2024-03-29T14:38:13+07:00 กัลยานี เลื่องสุนทร kanlayanee.l@dru.ac.th จีรภา ประยูรศักดิ์ jeerapa.p@dru.ac.th <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการติดตามข้อมูลศิษย์เก่า 2. เพื่อวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า 3. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า และ 4. เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการติดตามข้อมูล และสิ่งที่คาดหวังจากระบบฐานข้อมูลศึกษาเก่า ทำการเก็บข้อมูลกับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 7 คนศิษย์เก่า จำนวน 60 คน ซึ่งได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ออกแบบ และพัฒนาเป็นระบบฐานข้อมูล โดยพัฒนาจากโปรแกรม PHP (Professional Home Page) และโปรแกรม MySQL และทำการศึกษาต่อในระยะที่ 2 คือการนำระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ จำนวน 232 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการติดตามข้อมูลศิษย์เก่าคือปัญหาในการเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ ทำให้ติดต่อกับศิษย์เก่าได้ยาก จึงได้วิเคราะห์และออกแบบระบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.82 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.351) ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.08 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.836)</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/1038 แนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยเพื่อรองรับการท่องเที่ยวใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2024-04-02T13:57:27+07:00 จริยา ตันติวราชัย jtantiwarachai@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพความพร้อมของเยาวชน ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยแบบมีส่วนร่วม และเพื่อประเมินแนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เยาวชนที่เป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 31 คน มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี เช่น การสังเกตและการสนทนาเป็นทางการ โดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากที่สุดมีการศึกษาในระดับอาชีวะศึกษา เป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ =2.92) เมื่อพิจารณารายด้านที่พร้อมมากที่สุดในด้านทักษะ หน้าที่และความรับผิดชอบในการนำเที่ยว (x̅ =3.47) รองลงมา คือ ด้านการติดต่อประสานงานและแก้ไขปัญหาในการนำเที่ยว (x̅ =3.07) ส่วนด้านความรู้ในการนำเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนความพร้อมอยู่ในระดับน้อย (x̅ =2.22) แนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยแบบมีส่วนร่วม พบว่า ข้อมูลสำคัญของผู้บริหารปกครองท้องถิ่น เช่น กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและประชุมร่วมกันของกองงานต่อกิจกรรมการ เล่าเรื่องของดีชุมชนในทุกกิจกรรม กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักและจัดสรรงบประมาณกิจกรรมส่งเสริมเยาวชนนักเล่าเรื่องสร้างต้นแบบหรือนำร่องเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อย เป็นต้น และข้อมูลของผู้ที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยตรง เช่น การมีประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของหน่วยงานหรือการยอมรับเป็นชุมชน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในพื้นที่ของชุมชนช่วยให้เยาวชนได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวของชุมชน มีพื้นที่สถานสาธารณะสำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเยาวชนใช้ในการแลกเปลี่ยนเรื่องราวของชุมชน เป็นต้น ซึ่งผลการประเมินเยาวชนหลังอบรมมัคคุเทศก์น้อย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅ =3.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการติดต่อประสานงานและแก้ไขปัญหาในการนำเที่ยว ด้านทักษะ หน้าที่และความรับผิดชอบในการนำเที่ยวอยู่ในระดับมาก (x̅ =3.69), (x̅ =3.58) และด้านความรู้ในการนำเที่ยวอยู่ในระดับกลาง (x̅ =3.11)</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/934 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2024-02-23T16:13:20+07:00 บุญมา อิ่มวิเศษ imwised@hotmail.com <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัย และ (3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประชากรคือประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มีรถยนต์ไฟฟ้าหรือมีความต้องการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 400 ตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p> <p> 1. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่า (1) เมื่อรายได้ต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในวัตถุประสงค์สำคัญในการเลือกซื้อและการรับทราบและศึกษาข้อมูลมาจากแหล่งต่างกัน (2) เพศต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยวัฒนธรรม (3) อายุต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในด้านสถานที่และด้านการส่งเสริมการตลาด (4) ราคาที่เหมาะสมพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยวัฒนธรรม (5) ผู้ที่มีส่วนร่วมมากที่สุดในการตัดสินใจพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยเศรษฐกิจ และ (6) อาชีพต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยเศรษฐกิจและด้านผลิตภัณฑ์</p> <p> 2. ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า สมการด้านกระบวนการตัดสินใจดังต่อไปนี้ (1) สมการอายุ=2.917-0.545Aเศรษฐกิจ-0.432Bเทคโนโลยี+0.860Eผลิตภัณฑ์-0.919Fราคา+0.720Gสถานที่ (2) สมการรายได้เฉลี่ยต่อเดือน = 4.656 - 1.545Aเศรษฐกิจ - .553 Bเทคโนโลยี + .139 Dวัฒนธรรม + 1.581 Hการส่งเสริมการตลาด และ (3) สมการผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ = 7.569 - 0.940Aเศรษฐกิจ + 1.157 Hการส่งเสริมการตลาด</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/1255 การพัฒนาต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษามะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ 2024-06-26T18:44:06+07:00 ประทับใจ อภิสิทธิ์สุขสันติ pratubjai.a@dru.ac.th <p> งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการสร้างต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการใช้งานต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดดิจิทัลหรือระบบงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 407 คน ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรหรือผู้ดูแลการจัดจำหน่ายสินค้า ที่ต้องการใช้ต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยใช้วิธีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 คน 2) กลุ่มเกษตรอำเภอและนักวิชาการเกษตร โดยใช้วิธีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 คน และ 3) บุคคลทั่วไปที่เข้าชมต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีแบบสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรหรือผู้จัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มเกษตรแปลงใหญ่มะม่วงน้ำดอกไม้สามารถใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีได้ ด้านความต้องการใช้เทคโนโลยีพบว่าต้องการระบบจองมะม่วง ช่องทางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์มะม่วง ระบบที่ต้องการต้องใช้งานได้ง่ายและช่วยบริหารจัดการการจองสินค้า 2) การพัฒนาต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย ระบบการจัดการสมาชิก ระบบการจัดการสินค้า ระบบบริหารการจัดส่งสินค้า การประเมินความพึงพอใจต่อผู้ขาย 3) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อภาพรวมด้านการทำงานระบบต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษามะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (x̅= 4.62) และความพึงพอใจที่มีต่อภาพรวมของการแสดงผลข้อมูล อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (x̅= 4.51)</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/1085 แนวทางการพัฒนานวัตกรรมต่อการสร้างคุณค่า ของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม 2024-02-16T10:45:04+07:00 พินพัสนีย์ พรหมศิริ ajarnpin@gmail.com <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและปัจจัยการสร้างคุณค่าของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม และเพื่อหาแนวทางนวัตกรรมต่อการสร้างคุณค่าของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดีทำให้องค์การไปสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 11 แห่ง ๆ ละ 1 ราย ตำแหน่งเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร หรือผู้จัดการของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (validity) ได้ค่าเท่ากับ 0.96 ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาสำคัญต่อการสร้างคุณค่าของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายคือ แหล่งเงินทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน และการสร้างเครือข่ายธุรกิจ การจับคู่ทางธุรกิจ หรือการตกลงทำความร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือกันเรื่องเทคโนโลยีนวัตกรรม และองค์ความรู้ ส่วนปัจจัยในการสร้างคุณค่าของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม มี 3 ประเด็น คือ 1.ความปรารถนาและแรงบันดาลใจที่ต้องการช่วยเหลือ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม 2. การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และนโยบายการดำเนินงานต่าง ๆ ของวิสาหกิจเพื่อสังคม 3. การสื่อสารความรู้ใหม่ และการสร้างความเข้าใจในบริบทของวิสาหกิจเพื่อสังคม สำหรับแนวทางนวัตกรรมต่อการสร้างคุณค่าของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมประกอบด้วยแรงบันดาลใจ ทักษะความรู้ความสามารถ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน องค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจของลูกค้า</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/1069 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่ 2024-05-02T14:44:42+07:00 ภัคธนัช กลั่นเอม workamon.rb@gmail.com วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์ wanakiti@rsu.ac.th <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่ และ 2) การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ชุด ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การคำนวณค่าไคสแควร์ การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 39 - 45 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพอาชีพข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 35,001 - 45,000 บาท ผลการทดสอบพบว่า ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีความความสัมพันธ์ ได้แก่ ราคา การส่งเสริมการตลาด การให้บริการส่วนบุคคล และการรักษาความเป็นส่วนตัว ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีความความสัมพันธ์ ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยทางสังคมด้านกลุ่มอ้างอิงที่มีความความสัมพันธ์ ได้แก่ กลุ่มอ้างอิงทางตรง และกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/992 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์กระยาสารทมัลเบอร์รี่ ของผู้ประกอบการสวนลุงแจ็คเพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน 2024-01-05T17:20:00+07:00 วิไรวรรณ แสนชะนะ wiraiwans@gmail.com วศิน ว่องไวตระการ wasin_wo63@live.rmutl.ac.th ณภัสกร ศรีวิราช napatsakon_sr63@live.rmutl.ac.th ภูวดล ยุบลมาตย์ phoowadol_yu63@live.rmutl.ac.th ปิยวรรณ โชติวัฒนภูวดล piyawan_ch63@live.rmutl.ac.th จักรพรรณ์ รักษาสวัสดิ์ jakkaphan_ra63@live.rmutl.ac.th <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์กระยาสารทมัลเบอร์รี่ของผู้ประกอบการสวนลุงแจ็คเพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การสำรวจความต้องการ 2) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 3) การพัฒนาช่องทางการตลาด และ 4) การสำรวจความคิดเห็น ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย และเพิ่มช่องทางการขายให้มากขึ้น 2) นำความต้องการมาศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้หลักบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ การรองรับสินค้า ป้องกันสินค้า รักษาคุณภาพสินค้า ดึงดูดความสนใจ และสร้างมูลค่าเพิ่ม หลังจากนั้นนำมาพัฒนาโดยได้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 1 คือบรรจุในถุงสุญญากาศขนาด 50 กรัม และบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 คือ แบบกล่องกระดาษและกล่องสานจากไม้ไผ่ ทำการประเมินคุณภาพบรรจุภัณฑ์ 3) การพัฒนาช่องทางการตลาดโดยมีทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยในรูปแบบออนไลน์ ใช้ WordPress เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์ ร่วมกับการใช้ปลั๊กอิน WooCommerce ในการแสดงสินค้าสำเร็จรูปให้ง่ายต่อการพัฒนาเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ทั้งนี้ได้นำต้นแบบของบรรจุภัณฑ์และเว็บไซต์สอบถามความคิดเห็นก่อนนำไปใช้งานจริง และ 4) ประเมินคุณภาพการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์กระยาสารทมัลเบอร์รี่ จากผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และทำการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์กระยาสารทมัลเบอร์รี่ จำนวน 30 คน พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/1105 ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดเชิงเนื้อหากับการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็ก ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2024-03-04T08:14:02+07:00 อัญชลี เยาวราช anchalee@vru.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างหลายขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> ผู้วิจัยทำการทดสอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21 – 30 ปี อาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ระหว่าง 10,001 - 25,000 บาท ระดับความคิดเห็นในการทำการตลาดเชิงเนื้อหาในภาพรวม มีระดับความอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 และเมื่อทำการทดสอบด้วยสถิติการสหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า การตลาดเชิงเนื้อหามีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรมีการวางแผนการตลาดผ่านการทำการตลาดเชิงเนื้อหาเพื่อให้สามารถกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการซื้อสินค้าแม่และเด็กได้</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/1124 ซอฟต์พาวเวอร์ไทย : ความเข้าใจ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาในเวทีโลก 2024-03-18T10:33:16+07:00 เขมนิจ มาลาเว khemanit.jenny@gmail.com <p> ด้วยสังคมไทยมีความตื่นตัวให้ความสนใจเรื่องซอฟต์พาวเวอร์มากขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องให้ผู้คนเริ่มตั้งคำถามถึงความเข้าใจที่ถูกต้องและทิศทางการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่เวทีโลก ผู้เขียนจึงสนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาของซอฟพาวเวอร์ไทย จากการศึกษาพบว่า สังคมไทยยังไม่มีความเข้าใจที่เพียงพอเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานและขาดการร่วมมือกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีโอกาสในการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ให้เป็นที่รู้จักในเวทีโลก ด้วยการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์และมีคุณค่า คนไทยเป็นคนที่มีมารยาทดีและเป็นมิตร สังคมไทยเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ และมีคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะในการสื่อสารและมีเสน่ห์ในการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น เพื่อสร้างโอกาสที่ยั่งยืนให้กับซอฟต์พาวเวอร์ไทยในการเติบโตสู่สากล ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันและปรับปรุง โดยผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. หน่วยงานที่มีอำนาจควรทำการทบทวนหรือศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์และจัดการอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2. รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานระยะยาวเพื่อดูแลและรับผิดชอบซอฟต์พาวเวอร์ไทย 3. ควรคัดเลือกบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมให้ความคิดและสนับสนุนในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย 4. ควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ เข้าใจ และสามารถเข้าถึงการสนับสนุนช่วยเหลือของรัฐบาล 5. รัฐบาลควรเริ่มต้นด้วยโครงการที่มีนโยบายต้นแบบโดยการเลือกทรัพยากรวัฒนธรรมไทยที่มีศักยภาพที่สุดและวางแผนการสื่อสารอย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจลึกซึ้งเพิ่มเติม 6. ควรมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) รวมถึงสื่อใหม่ (New media) เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์และเผยแพร่คอนเทนต์เกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ 7. ควรมีวิธีการประเมินผลโครงการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นรูปธรรมและแม่นยำ</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี