วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru <div>วารสารฯ มี วัตถุประสงค์ <span lang="TH">1) เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่วิทยาการ ความรู้ ความคิดทางวิชาการ และวิชาชีพ</span>สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัญชี นิเทศศาสตร์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการท่องเที่ยวและบริการ เศรษฐศาสตร์ ระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) <span lang="TH">เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาด้านวิทยาการจัดการที่จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป โดยรับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการ ที่มีคุณค่าทางวิชาการ สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฏีและเชิงปฏิบัติได้อย่างกว้างขวาง</span> </div> th-TH [email protected] (สำนักงานกองบรรณาธิการวารสารฯ) [email protected] (สำนักงานกองบรรณาธิการวารสารฯ) Thu, 28 Dec 2023 17:21:56 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ข้อควรระวังร่องรอยดิจิทัลในโลกออนไลน์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/833 <p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อควรระวังร่องรอยดิจิทัลบนโลกออนไลน์ ผลการศึกษา พบว่า ร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint)<strong> </strong>คือร่องรอยแห่งการทำสิ่งต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ทุกครั้ง ข้อมูลการใช้งานทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ต ร่องรอยดิจิทัล มี 2 ประเภท 1) ร่องรอยดิจิทัลที่ไม่ตั้งใจ (Passive Digital Footprint) เป็นร่องรอยดิจิทัลที่ทิ้งไว้โดยไม่ตั้งใจ ไม่รู้ตัวว่าได้ทิ้งร่องรอยไว้บนอินเทอร์เน็ต 2) ร่องรอยดิจิทัลที่ตั้งใจ (Active Digital Footprint) เป็นข้อมูลทางดิจิทัลที่เปิดเผยโดยตั้งใจ การโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดีโอลงบนสื่อสังคมออนไลน์ อัลกอริทึมที่พัฒนามาจากร่องรอยดิจิทัลของผู้ใช้งานมากำหนดสิ่งที่นำเสนอให้ผู้ใช้งาน ตามความสนใจ และพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ข้อควรระวังร่องรอยดิจิทัล ผู้ใช้งานควรมีการตรวจสอบร่องรอยดิจิทัล และวิธีการหลีกเลี่ยงการทิ้งร่องรอยดิจิทัล การใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์</p> สิงห์ สิงห์ขจร, กฤษณะ เชื้อชัยนาท, กฤษฎา พรหมเวค, ณัฐกานต์ แก้วขำ, ประภวิษณุ์ พนัสทรัพย์, รัตนา บุญอ่วม Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/833 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/884 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 3) เพื่อศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 302 คน จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กระจายตามกลุ่มของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาได้ 5 กลุ่มโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการกำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ 2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.850 และ (R<sup>2</sup> = 0.722) สามารถอธิบายสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้<em> </em> <img title="\hat{Y}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\hat{Y}" /> = 1.239 + 0.408(X<sub>4</sub>) + 0.160(X<sub>3</sub>) + 0.151(X<sub>1</sub>) , <img title="\hat{Z}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\hat{Z}" /> = 0.511(X<sub>4</sub>) + 0.207(X<sub>3</sub>) + 0.183(X<sub>1</sub>)</p> ขนิษฐา เนียมชุมแสง, สุทธิพงศ์ บุญผดุง Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/884 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยและแนวทางการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/798 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2) กำหนดแนวทางการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือวิจัยจากการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เก็บรวบรวมข้อมูลแบบเป็นไปตามโอกาสทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทำการทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านประเภทสินค้ามีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาเป็นปัจจัยประเภทยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ปัจจัยด้านระยะทางในการขนส่งสินค้า และปัจจัยด้านปริมาณสินค้าที่จัดส่ง นอกจากนั้นสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งมีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารที่มากกว่าประเภทสินค้าอาหารแห้ง การขนส่งสินค้าอาหารด้วยระยะทางตั้งแต่ 1-10 กิโลเมตร มีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารที่ให้บริการขนส่งสินค้าระยะทางมากกว่า 20 กิโลเมตรขึ้นไป การขนส่งสินค้าอาหารโดยรถยนต์ตู้ทึบปรับอากาศมีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารมากกว่าการขนส่งสินค้าอาหารโดยรถจักรยานยนต์ การจัดส่งสินค้าอาหารในปริมาณ 100 หน่วยขึ้นไปมีระดับความสำคัญต่อราคาค่าขนส่งสินค้าอาหารมากกว่าการจัดส่งสินค้าอาหารในปริมาณ 1 - 20 หน่วย</p> ธมนวรรณ์ เฟื่องประยูร Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/798 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/815 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวมายังแหล่งท่องเที่ยว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตามสะดวก สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีเหตุผลในการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน เพราะต้องการอยากบริโภคเอง/ทดลองใช้ มากที่สุด แหล่งข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ชุมชนส่วนใหญ่มาจาก เพื่อน/คนรู้จัก ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเคยซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และในแต่ละวันมีพฤติกรรมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ต่อวัน มากกว่า 5 ครั้ง/วัน สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวมากที่สุด คือ Facebook ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การโฆษณาออนไลน์ การสร้างเนื้อหาโดยผู้ใช้ และการมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ ตามลำดับ</p> <p> </p> นัทธ์หทัย ตันสุหัช Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/815 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างมโนทัศน์ภาพลักษณ์อาหารไทยผ่านการเล่าเรื่องราวอย่างยั่งยืน https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/911 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์ภาพลักษณ์อาหารไทย และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของเจเนอเรชันแซด (Generational Z) (ที่มีอายุระหว่าง 11-26 หรือเกิดในช่วงปี พ.ศ. 2540 – 2555) (2) มโนทัศน์ (Concept) ของอาหารไทย (3) ความสำคัญของการเล่าเรื่องราวของอาหารไทยอย่างยั่งยืน (4) แนวทางการสร้างมโนทัศน์ภาพลักษณ์อาหารไทยผ่านการเล่าเรื่องราวอย่างยั่งยืน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ หน่วยงานภาครัฐ โรงเรียน สถาบันสอนทำอาหาร ผู้สอนหลักสูตรอาหารไทย และผู้เรียนหลักสูตรอาหารไทย จำนวน 18 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเสนอในรูปแบบความเรียง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) สถานการณ์ภาพลักษณ์อาหารไทย และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของเจเนอเรชันแซดมา (พ.ศ. 2561-2566) อาหารไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และได้รับการสนับสนุนโดยหน่วยงานภาครัฐที่ส่งเสริมอาหารเป็น Soft Power แต่ในตรงกันข้ามเจเนอเรชันแซด รู้จักอาหารไทย และให้ความสำคัญกับอาหารไทยน้อยลง เนื่องจากมีความเข้าใจว่าอาหารไทยมีกระบวณการปรุงประกอบอาหารที่ซับซ้อน และประกอบอาหารนาน อีกทั้งเหตุผลที่เนอเรชันแซดบริโภคอาหารไทยลดลง เนื่องจากประสบการณ์การบริโภคอาหารไทยรสชาติไม่อร่อย ไม่คุ้นเคย รู้สึกแปลกใหม่ แต่มีบางกลุ่มที่บริโภคอาหารไทยเพียงเพราะตามกระแสสังคมในช่วงเวลานั้นๆ (2) มโนทัศน์ (Concept) ของอาหารไทย อาหารไทยเป็นอาหารที่ถูกถ่ายทอดจากอดีตสู่ปัจจุบัน ถือเป็นอัตลักษณ์ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยมีลักษณะโดดเด่นทางด้านรสชาติ เอกลักษณ์ และเป็นอาหารประจำชาติ อาหารไทย แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ อาหารคาว และอาหารหวาน (3) ความสำคัญของการเล่าเรื่องราวของอาหารไทยอย่างยั่งยืน พบว่า อาหารไทยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และวิธีการปรุงประกอบอาหารที่บ่งบอกถึงรากเง้า วิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างดี ถือเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้เป็นที่รู้จัก น่าสนใจ และส่งเสริมให้เจเนอเรชันแซดมีความอยากรับประทานอาหารไทยมากขึ้น (4) แนวทางการสร้างมโนทัศน์ภาพลักษณ์อาหารไทยผ่านการเล่าเรื่องราวอย่างยั่งยืน พบว่า ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเล่าเรื่องราวอาหารไทยอย่างมีคุณภาพ และมั่นคง นอกจากอาหารไทยที่ถือว่าเป็นอำนาจละมุนแล้ว ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทยถือเป็นอำนาจละมุนในการเล่าเรื่องราว และสร้างภาพลักษณ์อาหารไทยให้แก่ผู้บริโภค และเจเนอเรชันแซดอย่างยั่งยืน</p> ลิขิต แสนบุญครอง, ณัฐนรี สมิตร Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/911 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง “หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต” https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/825 <p> การจัดทำวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา และประเมินคุณภาพ สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต" เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต" 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย ด้านเนื้อหา และด้านสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อมัลติมีเดีย จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต"ประกอบด้วย ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอข้อมูล ด้านตัวอักษรและข้อความ ด้านภาพนิ่ง ด้านเสียงและภาษา และด้านภาพเคลื่อนไหว การประเมินคุณภาพสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง "หลับใน ภัยเงียบอันตรายถึงชีวิต" มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 อยู่ในระดับดี</p> สุพรรสา ชูพลาย, มณีรัตน์ ชะม้อย, แอนนา พายุพัด, ธัญพร ศรีดอกไม้, ประทับใจ อภิสิทธิ์สุขสันติ Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/825 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 The Development and Evaluation of Cosmetics ManufacturingOrder System https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/843 <p> This paper discussed a web-based application of cosmetics manufacturing order system aiming to 1) study, analyze, and design the Cosmetics Manufacturing Order System; 2) develop the system; and 3) evaluate the users’ satisfaction by focusing on a current manufacturing order system for cosmetics so as to improve the existing work system in an offline format to be able applicable online via the internet. Research methodologies consisted of problem formulation, system analysis, program design, system development, users’ satisfaction assessment, and system manual preparation. The program was developed in a web application form with the computer languages, such as PHP, HTML, CSS, JavaScript, and Bootstrap 5.0 applying MySQL as database. There were three groups of the system users, including: business owners, membership customers, and general customers. The findings revealed that the system related users were able to manage details information on cosmetic products (Formula Characteristics, Product Highlights); they were able to add, view, delete, and edit information of membership customers, products, product types, product formulations; they were able to order product production, notify payment for production orders and shipping information; and they were able to issue reports and access reports related. In relation to the overall system performance evaluation by 5 experts, it showed that the system was at a high level (x̅ =3.75, S.D.=0.66), whereas the overall satisfaction evaluation from 30 users was at very high level too (x̅=4.49, S.D.= 0.27). Thus, the system could practically function and respond to the needs of users well.</p> Taksanan Nanok, Juthamas Siriangkulvanich, Lucksana Romyasamit, Soawanee Prachayagringkai Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so10.tci-thaijo.org/index.php/msdru/article/view/843 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700