จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นวารสารวิชาการ จัดพิมพขึ้นเพื่อส่งสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ได้ใช้เป็นช่องทางการเผยแพร่ความรู้และผลงานวิจัยทางบริหารธุรกิจ บัญชี นิเทศศาสตร์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการท่องเที่ยวและบริการ เศรษฐศาสตร์ ระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาศักยภาพทางวิชาการและส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในด้านวิชาการและงานวิจัยของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติและจริยธรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการตีพิมพ์นานาชาติ

ดังนั้น วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไว้ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

  1. ผู้นิพนธ์จะต้องนำเสนอบทความที่ไม่เคยได้รับการพิมพ์ หรือไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งตีพิมพ์อื่น หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  2. ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมปรับแก้ตันฉบับตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและกองบรรณาธิการ
  3. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
  4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตนเอง
  5. ผู้นิพนธ์ต้องทำตามรูปแบบและอ้างอิงที่วารสารได้กำหนดไว้ทุกประการ
  6. เนื้อหาในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรอง คัดเลือกบทความตามรูปแบบการตีพิมพ์ของวารสารและตรวจสอบบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหา การใช้ภาษา การอ้างอิงรวมทั้งการรวบรวมบทความก่อนส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
  2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่สรุปผลการประเมินข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ เพื่อส่งให้ผู้นิพนธ์แก้ไข
  3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบทความ หลังจากผู้นิพนธ์ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ หากผู้นิพนธิ์ไม่ได้แก้ไขตามผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ กองบรรณาธิการมีสิทธิยกเลิกบทความของผู้นิพนธ์ได้ทันที
  4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
  5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ปกปิดข้อมูลผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
  6. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พัฒนาคุณภาพวารสารให้มีความทันสมัย เป็นองค์ความรู้ไหม่ที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น
  7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
  8. บรรณาธิภารและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี อย่างเคร่งครัด
  9. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบการพิมพ์ซ้ า/ ซ้ าซ้อน (duplication/plagiarism)
  10. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่สามารถส่งบทความในวารสารได้

บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากทางวิชาการ
  5. หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
  6. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์