ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการใช้บริการธุรกิจรับจ้างผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด

-

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ 3170600484

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ธุรกิจรับจ้างผลิต, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, กลยุทธ์การตลาดบริการ, ธุรกิจรับจ้างผลิต,ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ,พฤติกรรมการใช้บริการจัดจ้างผลิต, ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการให้บริการธุรกิจรับจ้างผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภายในประเทศ บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรับจัดจ้างผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมธุรกิจของ บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด ต่อการจัดการการตลาด  3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการจ้างผลิต(OEM) ภายในประเทศด้วย บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด ประชากรคือผู้ที่จ้างผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอย

         ผลการศึกษา พบว่า 1) ส่วนประสมการตลาดของ บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัดและโรงงานผลิตผลิตอาหารเสริมของธุรกิจขายตรงไทยมีความแตกต่างกัน ระยะเวลาในการส่งสินค้า การรับประกันความเสียหาย  และอัตราค่าบริการการผลิต ทั้งในส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการผลิตอาหารเสริมของธุรกิจการตลาดขายตรงและการตลาดดิจิทัล 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการผลิตอาหารเสริมของธุรกิจการตลาดขายตรงและการตลาดดิจิทัล บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด อยู่ในระดับมากที่สุดในด้านบุคคลากร และด้านกระบวนการให้บริการ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการธุรกิจรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริม บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด คือ ราคา โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ทั้งการใช้บริการผลิตผลิตอาหารเสริมของธุรกิจการตลาดขายตรงและการตลาดดิจิทัล บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

นนทบุรี

References

คุณาพร โฉมจิตร. (2565). ตัวแบบการจัดการความได้เปรียบทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผู้สูงวัย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 17-32.

ณญา นภาพร. (2556). แผนธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงาม = Business plan: healthy and beauty supplement product. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2564). การศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการการตลาดสำหรับธุรกิจรับผลิตอาหารเสริมครบวงจร ในอำเภอเมืองสมุทรสาคร. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(2), 161-174.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การศึกษาเรื่องคุณภาพการให้บริการของธุรกิจรับผลิตอาหารเสริมครบวงจร ในอำเภอเมืองสมุทรสาครจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), 1(2), 41-51.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งผลิต ผลิตและสร้างแบรนด์อาหารเสริมสุขภาพผ่านสื่อดิจิทัลของ บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 33-43.

นันทิดา ทองออน และปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2558). การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจนใน เขตกรุงเทพมหานครโดยใช้ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคและความต้องการที่มีต่อส่วนประสม ทางการตลาด. Rangsit Graduate Research Conference: RGRC, 12, 604-612.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา, (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ตักสิลาการพิมพ์.

ปิยะวรรณ โตเลี้ยง, รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, พิจิตร เอี่ยมโสภณา และจิต ระวี ทองเถา. (2563). ลักษณะประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 24(1), 22-34.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสานส์น.

วรรณชนก ขามช่วง. (2563). ผลกระทบของการจัดการผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการเจริญเติบโตขององค์กรของธุรกิจอาหารเสริมในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(5), 44-56.

วสันต์ เกียรติทะนงศักดิ์. (2563). การรู้คุณค่าตราสินค้าและการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

โสภณัฐ เพ็งนิ่ม. (2564). แผนการตลาดธุรกิจอาหารเสริมประเภทวิตามินในรูปแบบ Subscription. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30