การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเสี่ยงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC

ผู้แต่ง

  • แอนนา พายุพัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • พรทิพย์ มโนดำรงสัตย์ อาจารย์ สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ประภาพิทย์ อินทรชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาฐานข้อมูล, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การประเมินความเสี่ยง, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเสี่ยงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ฝั่งธนบุรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC 2) เพื่อประเมินคุณภาพระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเสี่ยงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ฝั่งธนบุรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบฐานข้อมูล จำนวน 5 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเสี่ยงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 5 ท่าน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเสี่ยงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ฝั่งธนบุรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC 2) แบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบฐานข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการและโครงสร้างภายในระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเสี่ยงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ฝั่งธนบุรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ประกอบด้วย 7 ระบบ ได้แก่ ระบบลงทะเบียนสมาชิก ระบบจัดการข้อมูลเขต ระบบจัดการข้อมูลสินค้า ระบบจัดการข้อมูลประเภทสินค้า ระบบจัดการข้อมูลบริการ ระบบการจัดการความเสี่ยง และระบบออกรายงาน โดยประเมินคุณภาพ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านระบบฐานข้อมูลอยู่ในระดับมาก และด้านความเสี่ยงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก โดยผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.66

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2565). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2565, จาก : http://www.smce.doae.go.th

ไชยยศ บุญญากิจ. (2565). ธุรกิจกับเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565 จาก: http://www.tei.or.th/tbcsd/csr/sharing/061027_BusinessSufficiencyEconomy.pdf.

ดวงพง เกี๋ยงคำ. (2558). คู่มือใช้งาน Access 2013 ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี : ไอดีซี.

ตลาดหลักทรัพย์. (2565). การประเมินความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565, จาก : https://www.set.or.th/th/about/overview/files/Risk_2015_v2.pdf

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2565). เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565, จาก : http://www.chaipat.or.th/site_content/34-13/3579-2010-10-08-05-24-39.html.

วรารัตน์ เขียวไพรี. (2560). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วิภาพรรณ หมื่นมา. (2555). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงของโรงพยาบาลบ้านโอ่ง จังหวัดลำพูน. คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แอนนา พายุพัด ฐัศแก้ว ศรีสด และธัชกร วงษ์คำชัย. (2559). การวิเคราะห์และออกแบบระบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ OTOP 3-5 ดาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(1), 45-58.

Georis-Creuseveau, J., Claramunt, C., & Gourmelon, F. (2017). A modeling framework for

the study of Spatial Data Infrastructures applied to coastal management and planning. International Journal of Geographical Information Science, 31(1), 122–138.

Howell, B. (2020). Making a CASE for Using the Students Choice of Software or Systems Development Tools. Issues in Informing Science & Information Technology, 1, 189–205.

Kovačić, B., & Smailović, N. (2019). Design, Development and Implementation of Databases in Pharmaceutical and Medicine. Journal of Information Technology & Applications, 9(2), 106–117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29