ปัญหาและคุณลักษณะที่บ่งชี้ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่สำโรง-ปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า, ปัญหาการขนส่ง, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่สำโรง-ปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ และ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่บ่งชี้ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่สำโรง-ปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกรณีความล่าช้าในการขนส่งจากผู้ประกอบการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ สำโรง-ปู่เจ้าสมิงพราย จำนวน 623 กรณี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่สำโรง-ปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกเป็น 14 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าแพ็คไม่ทัน ปริ้นท์บาร์โค๊ดขนาดเล็กเกินไป รถขนส่งเต็ม สินค้าส่งมาไม่ถึงร้านตามกำหนดเวลา คลังเต็ม/ลงสินค้าไม่ได้ คนขับรถไม่ชำนาญเส้นทาง ร้านใช้กล่องแพ็คไม่เหมาะสม รถติดขณะเดินทาง รถขนส่งมีปัญหา แพ็คสินค้าผิด ร้านค้าย้ายที่อยู่โดยไม่แจ้งขนส่งล่วงหน้า เกิดอุบัติเหตุ ขนาดหรือน้ำหนักเกินที่ขนส่งกำหนด และคนขับ ลากะทันหัน คุณลักษณะที่บ่งชี้ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่สำโรง-ปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ มี 7 ประการ ได้แก่ ความรวดเร็ว ความประหยัด ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ความแน่นอนเชื่อถือได้และตรงต่อเวลา ความถูกต้องแม่นยำของร้านค้า และการอำนวยความสะดวกจากร้านค้า
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). ข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจ. สืบค้น 18 กันยายน 2565, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469412355
กอบกุล โมทนา. (2559). ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565. รัฏฐาภิรักษ์, 4(58), 91-104.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2551). การจัดการขนส่ง. นนทบุรี: วิชั่นพรีเพรส จำกัด.
ฉัตรชัย อินทสังข์, ศศิฉาย พิมพ์พรรค์ และอภิ คําเพราะ. (2562). การรับรู้คุณภาพการบริการ: ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 1-12.
ชุลีกร ชูโชติถาวร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการขนส่ง กรณีศึกษาบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้า. RMUTT Global Business and Economic Review, 17(1), 109-121.
นฤมล สุวิมลเจริญ และปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจออนไลน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมลวดสลิง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(95), 156-175.
ณัฐฌาน สุพล, รัตน์กมล ปวรวรรฒน์ และรุจพร ฟูมงคล. (2562). การเลือกตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 21-33.
ดิฐเวธน์ ทรัพย์พืชผล. (2557). รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 2(2), 132-138.
ประจักษ์ พรมงาม, ศักดิ์ กองสุวรรณ และเชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ. (2559). แนวทางพัฒนาลดความล่าช้าในการขนส่งสินค้าปูนซีเมนต์ผง กรณีศึกษา บริษัท มีนาทรานสปอร์ต จำกัด. วารสารชุมชนวิจัย, 10(3), 117-127.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
ประภาพรรณ เกษราพงศ และอารียา ชูเงิน. (2558). การจัดการเส้นทางการเดินรถขนส่งสินค้าของบริษัท แปรรูปอาหารขนาดย่อมโดยใช้ตัวแบบการจัดเส้นทางยานพาหนะ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 5(2), 39-55.
รัญชิดา เกียรติกนก และ เจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ. (2564). การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีและคุณภาพเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 91-105.
วรรณา ทองเย็น. (2561). แนวทางการจัดการการตลาดสำหรับร้านค้าปลีกขนาดเล็ก: กรณีศึกษาอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเกษมบัณฑิต, 19 (ฉบับพิเศษ), 140-149.
วุฒิศักดิ์ กัลปดี, วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล และวิสูตร ลู่โรจน์เรือง. (2556). การศึกษาปัญหาความล่าช้ามีผลต่อการจัดการประสิทธิภาพ การขนส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ของที่ทำการไปรษณีย์ลูกข่าย ศูนย์ไปรษณีย์ศรีราชา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 148-158.
ศรีศรินทร์ นรเศรษฐโสภณ, รัชนีวรรณ สุจริต, วิริยา บุญมาเลิศ และสิทธิชัย พินธุมา. (2565). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์เตยหอม อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(1), 139-148.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2553). จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัด
สมุทรปราการ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553. สืบค้น 18 ธันวาคม 2565, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/3.htm
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2564). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ ภาคและจังหวัด พ.ศ. 2564. สืบค้น 18 ธันวาคม 2565, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สุชาดา บุญเรือง, ชัยวุฒิ จันมา และเกียรติชัย วีระญาณนนท์. (2564). แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการขนส่งไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(43), 352-362.
Alfonso, V., Boar, C., Frost, J., Gambacorta, L., & Liu, J. (2021). E-commerce in the pandemic and beyond: online appendix. BIS Bulletin, 36, 1-5.
Easterby-Smith, M., Thorpe, R., & Jackson, P. (2012). Management research: London: Sage.
Lafkihi, M., Pan, S., & Ballot, E. (2019). Freight transportation service procurement: A literature review and future research opportunities in omnichannel E-commerce. Transportation Research Part E: Logistics and Transportation Review, 125, 348-365.
van Rijnsoever, F. J. (2017). (I Can’t Get No) Saturation: A simulation and guidelines for sample sizes in qualitative research. PLoS ONE, 12(7): e0181689. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0181689
Xua, G., Qiuc, X., Fangd, M., Koue, X., & Yu, Y. (2019). Data-driven operational risk analysis in E-Commerce Logistics. Advanced Engineering Informatics, 40, 29-35.
Yuan, Y., & Qiao, P. (2018). A research review on E-commerce Logistics delay. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 236, 272-275.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.