ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
การพัฒนาบุคลากร, พนักงานสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ 2) เปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงาน บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 104 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับ จากค่าเฉลี่ย 3 ลำดับ มากที่สุด คือ ด้านฝึกอบรม รองลงมาคือ ด้านการปฐมนิเทศ และด้านการส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของบริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และอายุงาน ต่างกัน มีความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของ บริษัท ทีม คอนซัลติ้งเอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กมลชณกนันท์ เอี่ยมแม้นศรี และณัดดา ทิพย์จันทา. (2558). ความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานคลังสินค้าบริษัท การบินไทย จากัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
นฤมล มนมีนกงกุล. (2562). ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/228729.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปิยนุช การคุณี. (2554). การศึกษาความต้องการฝึกอบรมของพนักงาน บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน). วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ฉบับพิเศษ, 128-134.
ประเวศ มหารัตน์สกุล. (2556). การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
พรชัย เจดามาน. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/jedaman/2013/03/29/entry-1
รัตนาภรณ์ บุญนุช .(2555). การพัฒนาและฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงาน:กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคกลาง). กรุงเทพมหานคร: บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี.
รัตนา เนื่องแก้ว. (2548). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์.
วิลาศ ยาวิละ. (2554). การศึกษาแนวทางการพัฒนาตนเองของพนักงานกรณีศึกษา: บริษัท เคฮิน ออโต พาร์ทส์(ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
สุธินี ฤกษ์ขำ. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
สุมิตร สุวรรณ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพมหานคร: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.
Prosoft HCM, (มปป). การพัฒนาบุคลากรคืออะไร. สืบค้นจาก https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/15778
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.