ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดเชิงเนื้อหากับการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็ก ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัญชลี เยาวราช อาจารย์สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การตลาดเชิงเนื้อหา, สื่อสังคมออนไลน์ , การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้  คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างหลายขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้    ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

          ผู้วิจัยทำการทดสอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21 – 30 ปี อาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ระหว่าง 10,001 - 25,000 บาท ระดับความคิดเห็นในการทำการตลาดเชิงเนื้อหาในภาพรวม มีระดับความอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 และเมื่อทำการทดสอบด้วยสถิติการสหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า การตลาดเชิงเนื้อหามีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรมีการวางแผนการตลาดผ่านการทำการตลาดเชิงเนื้อหาเพื่อให้สามารถกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการซื้อสินค้าแม่และเด็กได้

References

กัลยา วาณิชบัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กานต์ นวลน้อย. (2565). การทำการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) บนโซเชียลมีเดียที่มีผลต่อการที่ผู้บริโภคมีความผูกพันซึ่งนำไปสู่ทัศนคติต่อแบรนด์ Mo-Mo-Paradise. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ขวัญชณก ผูกไมตรี. (2564). อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้า และการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีในบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง Netflix ของคน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณิชชารีย์ สุริยชัยมณีกุล. (2565). อิทธิพลของกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาผ่านช่องทางออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและความผูกพันของผู้บริโภคตลาดธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เดลินิวส์ ออนไลน์. (2567, 16 กุมภาพันธ์). คาดการณ์ตลาดสินค้าแม่และเด็ก 3 หมื่นล้านปีนี้โต 5%. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/news/3182432/.

ธนกร แสงวงสว่าง และเสาวลักษณ์ จิตติมงคล. (2564). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจผ้าพื้นถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 154 – 167.

ธนัยนันท์ พรสินศิริรักษ์. (2564). การทำการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายของกลุ่มลูกค้าผู้หญิงแบรนด์ Dharma Bums ในประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสาร สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 375-396.

พรรณภา เพชรศักดิ์วงศ์ จรัชวรรณ จันทรัตน์และโสภิดา วระนิล (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์แม่และเด็กของแบรนด์อองฟองต์ผ่านช่องทางออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกาญจนบุรี. 12(2), 103.

พลอยชมพู นาคสุรพันธุ์. (2565). การรับรู้รูปแบบเนื้อหาเชิงการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจต่อผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัคคพร พิมสาร. (2564, มิถุนายน). เอกสารประกอบการสอนคอมพิวเตอร์เพื่อศิลปะการแสดง. สืบค้นจาก https://elfar.ssru.ac.th/pukkaporn_pi/pluginfile.php/30/block_html/content.pdf.

วิมพ์วิพา เขียวลำไย. (2564). การสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแม่และเด็กในตลาดออนไลน์. การศึกษารายบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการตลาดดิจิทัล. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวัฒน์ เหมือนโพธิ์. (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อกล้องวงจรปิดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด

เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ. (2551). นวัตกรรมโทรคมนาคมและการสื่อสารเปลี่ยนวิถีโลก. วารสารวิชาการ กสทช สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, 8, 13-18.

ศูนย์วิจัยกรุงศรีอยุธยา. (2564, 13 กันยายน). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2566-2568: ธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟแวร์. ประจำเดือนมีนาคม 2566. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/services/digital-software/io/io-digital-software-023-2025.

สมาร์ทรีเสิร์ชไทย. (2565, 16 พฤศจิกายน). Reliability Cronbach Alpha. สืบค้นจาก https://www.smartresearchthai.com/post/reliability-cronbach-alpha.

อาทิตย์ ว่องไวตระการและสันติธร ภูริภักดี. (2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์. วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 25(1), 27.

Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rded. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Cochran, W.G. (1977). Wiley: Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.

Duhe, S. C. (2007). New media and public relations. Michigan: The University of Michigan.

Herbert, A. S. (1976). Administrative behavior. 3rd ed. The Free.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation Control. NJ: Prentice-Hall.

Loredana, P.B. (2015). Content marketing - the fundamental tool of digital marketing. Economic Sciences, 8(2), 111-118.

Pulizzi, J., & Barrett, N. (2009). Get Content Get Customer: Turn Prospects into Buyers with Content Marketing. New York: McGraw Hill Professional.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. 5thed. Englewood Cliffs. NJ: Prentice-Hall.

Simon Kemp. (2024, Febuary 23). Digital 2024: THAILAND. Retrived from https://datareportal.com/reports/digital-2024-thailand?rq=Social%20media%202024%20in%20Thailand.

Yüksel, H. F., and Akar, E. (2021). Tactics for Influencing the Consumer Purchase Decision Process Using Instagram Stories: Examples From, Around the World. International Journal of Customer Relationship Marketing and Management (IJCRMM), 12(1), 84 - 101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29