แนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยเพื่อรองรับการท่องเที่ยวใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • จริยา ตันติวราชัย คณะวิทยาการจัดการ สาขาอุตสาหกรรมการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ

คำสำคัญ:

การสร้างเยาวชน, มัคคุเทศก์น้อย, การท่องเที่ยวชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพความพร้อมของเยาวชน ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยแบบมีส่วนร่วม และเพื่อประเมินแนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เยาวชนที่เป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 31 คน มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี เช่น การสังเกตและการสนทนาเป็นทางการ โดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากที่สุดมีการศึกษาในระดับอาชีวะศึกษา เป็นสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ =2.92) เมื่อพิจารณารายด้านที่พร้อมมากที่สุดในด้านทักษะ หน้าที่และความรับผิดชอบในการนำเที่ยว (x̅ =3.47) รองลงมา คือ ด้านการติดต่อประสานงานและแก้ไขปัญหาในการนำเที่ยว (x̅ =3.07) ส่วนด้านความรู้ในการนำเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนความพร้อมอยู่ในระดับน้อย (x̅ =2.22) แนวทางการสร้างเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อยแบบมีส่วนร่วม พบว่า ข้อมูลสำคัญของผู้บริหารปกครองท้องถิ่น เช่น กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและประชุมร่วมกันของกองงานต่อกิจกรรมการ เล่าเรื่องของดีชุมชนในทุกกิจกรรม กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักและจัดสรรงบประมาณกิจกรรมส่งเสริมเยาวชนนักเล่าเรื่องสร้างต้นแบบหรือนำร่องเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อย เป็นต้น และข้อมูลของผู้ที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยตรง เช่น การมีประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของหน่วยงานหรือการยอมรับเป็นชุมชน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในพื้นที่ของชุมชนช่วยให้เยาวชนได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวของชุมชน มีพื้นที่สถานสาธารณะสำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเยาวชนใช้ในการแลกเปลี่ยนเรื่องราวของชุมชน เป็นต้น ซึ่งผลการประเมินเยาวชนหลังอบรมมัคคุเทศก์น้อย  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅ =3.46)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการติดต่อประสานงานและแก้ไขปัญหาในการนำเที่ยว ด้านทักษะ หน้าที่และความรับผิดชอบในการนำเที่ยวอยู่ในระดับมาก     (x̅ =3.69), (x̅ =3.58) และด้านความรู้ในการนำเที่ยวอยู่ในระดับกลาง (x̅ =3.11)

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว(พ.ศ. 2561-2564) ของกรมการท่องเที่ยว. กรมการท่องเที่ยว: วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น.

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2560). แนวทางการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2560. กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.)

คณะกรรมการจัดทำและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์. (2560). แผนกลยุทธ์กรมกิจการเด็กและเยาวชน ฉบับที่ 1 (2560-2564). กองยุทธศาสตร์และแผนงานกรมกิจการเด็กและเยาวชน: กราฟิคซันเดย์.

คมสิทธิ์ เกียรติวัฒนา และชรินรัตน์ ทองพันธ์. (2560). การวิจัยเรื่องการรับรู้ของเยาวชนไทยต่อภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กระแสวัฒนธรรม (Cultural Approach), 34(18),18-26.

จุฑาทิพย์ สุทธิเทพ. (2559). การพัฒนายุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นของเยาวชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ชาญวิทย์ วสยางกูร. (2558). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษาชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเมืองมุดดาหาร จังหวัดมุกดาหาร. ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารวิทยาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 32-33.

ธาวิษ ถนอมจิตศ์. (2559). รูปแบบการเสริมสร้างความรู้แก่เยาวชนในเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชรโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มรดกโลกเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรรณิลัย นิติโรจน์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร: ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองเขตวังทองหลาง. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรรณี พิมาพันธุ์ศรี และคณะ. (2561). นวัตกรรมและแนวคิดสร้างสรรค์จากเยาวชนเพื่อประสบการณ์การท่องเที่ยวสู่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยคุณค่า. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมประชาชนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

ลาวัลย์ นาคดิลก. (2561). แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยของเยาวชน. วารสารวิชาการ, 12(1), 169-170.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

วันวิวาห์ แซ่ชั้น. (2560). ทักษะของมัคคุเทศก์ชาวไทยที่ดูแลนักท่องเที่ยวชาวจีน. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 20 กรกฎาคม 2560.

วิเชียร อินทรสมพันธ์ และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(1),155-156.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระพัฒนาที่ 1 : การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ. สำนักการพิมพ์งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สัญญา พานิชยเวช และคณะ. (2561). การศึกษาพัฒนาการเมืองสวรรคโลกและมรดกวัฒนธรรมชุมชนสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยเครือข่ายชุมชนคนสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุขสันติ์ สำเภา และคณะ. (2560). โครงการศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดของกลุ่มเด็กและเยาวชนตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562.) คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อรจนา จันทรประยูร และคณะ. (2554). การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อนุพงษ์ เผ่าจินดา. (2561). มหาดไทยชวนเที่ยวแอ่งใหญ่เชื่อมแอ่งเล็ก กระจายรายได้สู่ชุมชน 6 เดือนสร้างยอดทะลุ 1,200 ล้านบาท. สืบค้นจาก https://www.cdd.go.th/content/มหาดไทยชวนเที่ยวแอ่งใหญ่เชื่อมแอ่งเล็ก.

Best, W. (1997). Research in Education. ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hell.

Cohen, J. M. & Uphooff, N. T. (1981). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evolution rural development committee center for international studies. New York : Longman.

Executive of the president of USA (EOPOTUS). (2014). The Economics of earlychildhood investments. Retrieved from https://www.whitehouse.go/vsites/default/fles/docs/early_childhood_report1.pdf.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 608.

Nastasi, B. K. and Schensul, S. L. (2005). “Contributions of qualitative research to the validity of intervention research”, Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29