หลักจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐยุคใหม่
คำสำคัญ:
หลักจริยธรรม, การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐยุคใหม่บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นนำเสนอเรื่อง 1. แนวคิดเกี่ยวกับหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ 2. จริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อทบทวนแนวคิด ทฤษฎีของหลักจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐยุคใหม่ 2) เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในการนำหลักจริยธรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของหลักจริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้กับผู้บริหารและบุคลากรภายในภาครัฐเพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่21 ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก การพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการและผลตอบแทน การจูงใจ และมีหลักการที่เหมาะสมสำหรับนำมาปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้แก่ 1. หลักสังคหวัตถุ4 2. มรรค 8 3. หลักอิทธิบาท 4 4. หลักพรหมวิหาร 4 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่นั้นหากผู้บริหารนำหลักจริยธรรมเข้ามาบริหารในฝ่ายต่างๆ จะทำให้การบริหารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และได้บุคลากรที่มีคุณภาพจะทำให้งานเกิดประสิทธิผล
References
รัชฏา อสิสนธิสกุล. (2556). การบริหารยุคใหม่. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
ราเชนทร์ พิพัฒนกุล. (2562). จริยธรรมกับการบริหารงาน. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 24(2), 44-54.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. วิจิตรหัตถกร.
สถาพร วิชัยรัมย์. (2565). การพัฒนาระบบราชการไทย. http://dspace.bru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/7910/24_บทที่_10_การพัฒนาระบบ ราชการไทย.pdf?sequence=10&isAllowed=y
สุรชัย ผิวเหลือง. (2563). การมีวินัยในตนเอง. http://directorpol.com/data-6003.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.