นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิศท์ เศรษฐกร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ณัฐพงษ์ คันธรส คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อัมฤตา สารธิวงค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง, ปัจจัยความสำเร็จของนวัตกรรม, เทศบาลตำบลป่าสัก

บทคัดย่อ

ที่ผ่านมาการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่นั้นมีข้อจำกัด การใช้เทคโนโลยีผ่านระบบโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันควบคู่กับระบบการทำงานแบบปกติสามารถช่วยเพิ่มฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยและช่วยวางแผนการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรมของเทศบาลตำบลป่าสัก (2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของโครงการนวัตกรรมของของเทศบาลตำบลป่าสัก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาสังคม รวม 36 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกและ การสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จ วิเคราะห์และสรุปผลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์สรุปอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า (1) นวัตกรรมทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลจากรูปแบบเดิมที่ไม่เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้ป่วยเป็นการใช้โปรแกรมเพื่อติดตาม ประเมินผล รวมทั้งเพื่อการวางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็วแบบ real time ทำให้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ (2) ปัจจัยความสำเร็จของโครงการนวัตกรรม ได้แก่ 1) ศักยภาพของบุคลากรและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับทีมงานในพื้นที่ 2) นโยบายของนายกเทศมนตรีที่ส่งเสริมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การมีทรัพยากรทางการบริหารที่เพียงพอ 4) การออกแบบการทำงานร่วมกันอย่างยืดหยุ่น และ 5) การมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่าย และภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ สำหรับข้อค้นพบใหม่พบว่าปัจจัยศักยภาพของบุคลากรและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับทีมงานในพื้นที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมากที่สุดของนวัตกรรม

References

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย และเพ็ญศรี มีสมนัย. (2563). การวิจัยถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีประจำปีงบประมาณ 2561: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. การประชุมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 (น. 682-699). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐพงษ์ คันธรส และคณะ. (2566). ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์. (2558). การวางแผน การดำเนินโครงการ และการควบคุมโครงการ ในเอกสารการสอน ชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2562). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปภาวดี มนตรีวัต และสุนันทา โปตะวณิช. (2563). การวิจัยถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ 256: กรณีศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต. การประชุมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 (น. 710-722). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปัณณทัต นอขุนทด. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. (30 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (17 พฤศจิกายน 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก.

มุทิตา วรกัลยากุล. (2556). ความสำเร็จของการบริหารงานของเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยบริการ, 24(1), 144-158.

สุปัญญา สุนทรนนธ์. (2565). ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพสะ จังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,9(5), 372-387.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). ผลการคัดเลือก อปท. ที่มีการบริหารจัดการที่ดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. https://odloc.go.th/good-management/อปท-ที่มีการบริหารจัดก-12/

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). การบริหารจัดการภาครัฐ: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Grima-Izquierdo, C. (2010). A generic architecture for e-Government and e-Democracy: requirements, design and security risk analysis. LAP Publishing.

Henry, N. (2013). Public Administration and Public Affair (12th ed). Pearson Education.

OECD. (2003). The e-government imperative: main findings, Policy Brief, Public Affairs Division, Public Affairs and Communications Directorate, 1-8.

Osborne, D. and Gaebler, T. (1992). Reinventing Government: How the Entrepreneurial Spirit Is Transforming the Public Sector. Addison-Wesley Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย