บทบาทของครูคืนถิ่นต่อการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมการศึกษาบนฐานคิดอัตถิภาวนิยม
คำสำคัญ:
ครูคืนถิ่น, นวัตกรรมการศึกษา, อัตถิภาวนิยมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการได้มาซึ่งนวัตกรรมการศึกษาจากผลผลิตของครูคืนถิ่น ผ่านกระบวนการขบคิดที่อยู่บนฐานของภูมิปัญญาจากอดีตที่ผ่านมา และนำมาร้อยเรียงต่อกันจนเกิดเป็นภูมิหลังที่แข็งแกร่ง โดยอาศัยปรัชญาอัตถิภาวนิยมที่มีความเชื่อว่ามนุษย์มีเสรีภาพทางความคิด มีอิสระในการกระทำ และมีความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างชาญฉลาด ประกอบกับครูจะต้องพยายามลดระยะห่างระหว่างข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์กับความเป็นไปได้เชิงปฏิบัติ ซึ่งครูจำเป็นต้องอุทิศตนในการเข้าร่วมฝึกอบรมหรือเรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการคิดอย่างถาวร พร้อมทั้งจะต้องมีเครือข่ายในการทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลย้อนกลับอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การคิดค้นและการสร้างนวัตกรรมการศึกษาจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากนโยบาย กฎระเบียบ และข้อบังคับของสถานศึกษาไม่เอื้อต่อการมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยไร้ความกังวล เมื่อครูสามารถคิดค้นและสร้างนวัตกรรมการศึกษาได้แล้ว สิ่งสำคัญต่อมา คือ การนำไปปรับใช้ภายใต้เงื่อนไขของกระบวนการหล่อหลอมร่วมกับวัฒนธรรมองค์กรในบริบทของสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นรูปแบบของการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการตื่นรู้ในบทบาทของความเป็นครู ตลอดจนยังเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมทั่วทั้งองค์กรในการยึดถือและนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
References
จิราภรณ์ จันทร์โฉม และสุวิน ทองปั้น. (2563). ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมกับแนวคิดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(2), 185-196.
นรเศรษฐ์ แก้ววิภาส. (2548). การปฏิรูประบบอุดมศึกษาในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณีตามปฏิญญาโบโลญญ่า. วารสารศิลปศาสตร์, 5(2), 156-179.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2559-2572). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2553). ปรัชญาการศึกษาสำหรับผู้บริหารการศึกษา. ปัญญาชน.
Adedeji, S. O. & Olaniyan, O. (2011). Improving the Conditions of Teachers and Teaching in Rural Schools across African Countries. International Institute for Capacity Building in Africa.
Barno, O. & Makhmudov, K. (2020). Roles of Teachers in Education of the 21st Century. Scientific Journal, 1(3), 554-557.
Deal, T. E. & Peterson, K. D. (1998). The Heart to Leadership. Jossey-Bass.
Findikoglu, F. & Ilhan, D. (2016). Realization of a Desired Future: Innovation in Education. Universal Journal of Educational Research, 4(11), 2574-2580.
Fuad, D., Musa, K. & Yusof, H. (2020). Innovation in Education. Journal of Educational Research & Indigenous Studies, 2(1), 1-11.
Koirala, M. P. (2011). Existentialism in Education. Academic Voices A Multidisciplinary Journal, 1(1), 39-44.
Larasati, Q.I., Cahyaningtyas, A., Mangzila, A., Firawati, A.A., Yuanita, S.M. & Lesmana, I. (2019). The Role and Function of Teachers in Improving Effective Learning in Classes. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 381, 13-17.
Licht, A. H., Tasiopoulou, E. & Wastiau, P. (2017). Open Book of Educational Innovation. European Schoolnet.
Moreira, C., Abuzaid, J.N., Elisondo, R.C. & Melgar, M.F. (2020). Educational Innovation: Perspectives of Teachers and Students at Universidad Nacional De Rio Cuarto (Argentina) and Universidad Del Atlantico (Colombia). Panorama, 14(26), 1-15.
Mozaffari, M. & Jahanian, R. (2016). Identifying Existentialist Philosophy of Education. International Academic Journal of Social Sciences, 3(8), 18-28.
OECD. (2018). The Future of Education and Skills Education 2030. Directorate for Education and Skills-OECD.
Reed, W.A. (2009). The Bridge is Built: The Role of Local Teachers in an Urban Elementary School. The School Community Journal, 19(1), 59-75.
Sayeski, K.L. (2013). A New Era of Teacher Education: Introduction to the Teacher Education Column. Teacher Education, 48(5), 303-306.
Serdyukov, P. (2017). Innovation in Education: What works, What doesn’t, and What to do about it. Journal of Research in Innovative Teaching & Learning, 10(1), 4-33.
Stankevice, I. & Jucevicius, G. (2013). Institutional VS. Sectoral Dimension of Innovation Strategies of Firms. Technological and Economic Development of Economy, 19(1), 360-382.
Yu, Z., Zhou, S. & Li, Y. (2014). An Analysis of Influencing Factors of Innovative Education and Development Proposals. International Conference on Education Reform and Modern Management, 57-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.