นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ของหน่วยงานภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • จิรภา สุชนวณิช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นโยบายการส่งเสริม, อุตสาหกรรมไมซ์, หน่วยงานภาครัฐ

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมไมซ์ หรือ MICE (M: Meeting, I: Incentive, C: Convention, E: Exhibition, Event)  เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยที่พึ่งให้ความสำคัญและส่งเสริมการจัดกิจกรรมในระดับนานาชาติ เพราะการผลักดันและส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์เป็นเส้นทางของนำเงินเข้าสู่ประเทศได้อย่างมหาศาลโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทที่รับงานจัดการท่องเที่ยว กลุ่มโรงแรม ศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ รวมไปถึงกลุ่มธุรกิจร้านอาหารต่าง ๆ และกลุ่มธุรกิจมากมายที่เกี่ยวข้องอยู่ไนอุตสาหกรรมไมซ์ นักธุรกิจที่เดินทางโดยจุดประสงค์เพื่อการประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์ ยังแฝงวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวอีกด้วย อุตสาหกรรมไมซ์จึงแนบแน่นอยู่กับธุรกิจการท่องเที่ยว ทั้งนี้การส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ของหน่วยงานภาครัฐ ควรมีส่งเสริมในหลากหลายมิติ ครอบคลุมทั้งในแง่สถานที่การจัดกิจกรรม ยุทธ์ศาสตร์ พัฒนาเชิงระบบและกลไก สร้างความร่วมมือ ทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค พร้อมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งต้องพัฒนาความเป็นมืออาชีพของบุคลากรให้มีทักษะ และความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสร้างกิจกรรมให้มีความแตกต่างและประทับใจกับผู้ร่วมงานหรือนักท่องเที่ยวได้ตื่นตาตื่นใจ พร้อมทั้งสามารถรักษาเอกลักษณ์ของไทยและสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทย เพราะฉะนั้น ภาครัฐควรจะต้องมีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ของหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง ได้แก่ 1) การพัฒนามาตรฐานการจัดการประชุมและนิทรรศการในระดับนานาชาติ 2) การยกระดับการแข่งขันการจัดการประชุมและนิทรรศการในตลาดโลก 3) การสร้างและสนับสนุนความคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนโยบายและการดำเนินการในแต่ละภูมิภาค 4) การสนับสนุนกับองค์กรต่าง ๆ เชิงระบบและกลไก ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคม 5) การส่งเสริมและออกแบบกิจกรรมที่สามารถสร้างประสบการณ์แบบพิเศษในระดับท้องถิ่น

References

กันหา พฤทธิ์พงศกร, กนกวรรณ เกาะคู, ทิพวรรณ สำเภารอด และพนิดา โถทอง. (2563). แนวทางในการพัฒนาเมืองไมซ์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมอุตสาหกรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 406-407.

จิตติคุณ นิยมสิริ และเจนจิรา อาษากิจ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันระดับนานาชาติของอุตสาหกรรม MICE ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 176-192.

ดุษฎี ช่วยสุข และดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวดขอนแก่นเพื่อรองระบการเป็นไมซ์ซิตี้ของประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 15-29.

มัทนา ธุระแสง และอรพิณ สันติธีรากุล. (2563). การประเมินศักยภาพเพื่อการพัฒนาธุรกิจไมซ์ในจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(4), 527-539.

ศุภวรรณ ตีระรัตน์. (2563). ไมซ์ทั่วไทย: กระตุ้นเศรษฐกิจไทยด้วยไมซ์ในประเทศ. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://intelligence.businesseventsthailand.com/en/blog/micelocal

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). มาตรฐานต่าง ๆ. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.nstda.or.th/tcc/tmvs/

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2553). White Paper เจตนารมณ์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ไทย. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (มปป.). แนวโน้มอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2554). อุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคเอเชีย. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2553). White Paper เจตนารมณ์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ไทย. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2566) จัดกิจกรรมไมซ์ได้ง่าย ๆ ใน 10 เส้นทางไมซ์สร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.businesseventsthailand.com/th/press-media/news-press-release/detail/1348-easily-organized-mice-activities-with-10-creative-mice-routes

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2566). TMVS สัญลักษณ์การันตีคุณภาพสถานที่จัดงาน MICE. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.thailandmice.com/article/1661/tmvsmice?section=Advertorials

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2561). แผนแม่บทอุตสาหกรรมการจัดประชุมและงานแสดงสินค้านานาชาติ ปี 2560-2564. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

เสรี วงษ์มณฑา และวิชยานันท์ พ่อค้า. (2560). แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นเมืองเป้าหมายของไมซ์ (MICE). วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 39(1), 96-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ