การบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย
คำสำคัญ:
พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล, พื้นที่พัฒนาร่วม, ปัจจัยความสำเร็จ, ความร่วมมือบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการดำเนินงานระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียในการใช้ประโยชน์ในบริเวณที่เกิดการทับซ้อนกันของอำนาจอธิปไตยภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 โดยมุ่งเน้นทบทวนความเป็นมาของพัฒนาการความร่วมมือจนนำมาสู่การสร้างพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย สถานการณ์ในปัจจุบันของการพัฒนาความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางทะเล ในพื้นที่ระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ดังนี้ 1. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจภาพรวมและลักษณะจำเพาะของพื้นที่ให้มากขึ้น ทั้งบุคลากรในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ 2. การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งส่วนของทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงการมีองค์กรระหว่างประเทศที่ร่วมกัน เพื่อให้มีกลไกสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการส่งเสริมความสัมพันธ์ในภาคประชาชน เพื่อเป็นความสัมพันธ์ระดับพื้นฐานที่จะนำสู่ความเข้าใจและความตระหนักถึงผลประโยชน์ที่จะได้ร่วมกัน 3. การดำเนินงานแบบร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยการกำหนดกรอบความร่วมมือเพื่อให้ดำเนินการเป็นไปอย่างมีระบบในการบริหารจัดการส่วนของอำนาจหน้าที่ ข้อมูลและกำลังพล รวมถึงเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความเข้าใจร่วมกั
References
ภาษาไทย
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย. (2548). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ปีค.ศ. 1982. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ่นส่วนจำกัด เอราวัณการพิมพ์.
ชาญวุฒิ ตัณฑดิลก. (2556). แนวทางการจัดเก็บรายได้ของรัฐและภาษีเกี่ยวกับปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา : ศึกษาจากต้นแบบพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย. กรุงเทพ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดลยา เทียนทอง. (2544). ความร่วมมือไทย-มาเลเซียในการพัฒนาพื้นที่ เขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทย. กรุงเทพ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดลยา เทียนทอง. (2551). พื้นที่พัฒนาร่วม: ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. กรุงเทพ: บริษัท สแควร์ ปริ๊นซ์ 93 จำกัด.
ภุชงค์ ประดิษฐธีระ น.อ. (2555). 2015 ประชาคมอาเซียน : ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทาง ทะเล. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 4 เมษายน 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.navy.mi.th/navedu/stg/docs/asien2015.pdf
ภาษาอังกฤษ
Saravanamuttu, J. (2014). Malaysia's approach to cooperation in the south china sea. In S. Wu, & K. Zou, Non-Traditional Security Issues and the South China Sea (pp. 75-88). New York: Routledge.
SCHOFIELD, C. (2007). Unlocking the Seabed Resources of the Gulf of Thailand. Contemporary Southeast Asia, 29(2), 286-308.
Schofield, C. (2014). Defining areas for joint development in disputed waters. In W. Shicun, & N. Hong (Eds.), Recent Developments in the South China Sea Dispute: The Prospect of a Joint Development Regime (pp. 78-98). London: Routledge.
Thao, N. H. (1999). JOINT DEVELOPMENT IN THE GULF OF THAILAND. Boundary and Security Bulletin, 79-88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-03-03 (3)
- 2023-03-02 (2)
- 2023-02-27 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.