แนวทางพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุโดยชุมชนและโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลท่าสาปและองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ผู้สูงอายุ, ชุมชนเป็นฐาน, โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและแนวทางพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนและโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มคนทำงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้สูงอายุหรือสมาชิกครัวเรือนผู้สูงอายุ และตัวแทนบุคลากรที่ทำงานสนับสนุนผู้สูงอายุ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 378 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่าสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (¯("x" )= 3.14, S.D = 0.83) และแนวทางพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนและโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (¯("x" )= 3.77, S.D = 0.63) ข้อเสนอแนะคือท้องถิ่นควรพัฒนาช่องทางการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนงานจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุ
References
จรัญญา วงษ์พรหม, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, นวลฉวี ประเสริฐสุข, และนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8(3) : 41-54.
ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล. (2562). แบบแผนและปัจจัยกำหนดการใช้เวลาในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุไทย.วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 14(1) : 89-104.
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, และอนามัย เทศกะทึก. (2557). การพัฒนาการเรียนรู้และอาชีพของผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์สถานการณ์. http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1431
ประสพโชค ตันสาโรจน์. (2559). บทบาทของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีในการดูแลผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1056?mode=full
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). สังคมผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. http://www.stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-04-02.html
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อรสา ธาตวากร. (2562). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในภาวะพฤฒพลังให้เกิดการยังประโยชน์ด้านสังคม.วารสารสังคมภิวัฒน์. 10(3) : 39-63.
อาชัญญา รัตนอุบล, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, มนัสวาสน์ มนัสวาสน์, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ปาน กิมปี, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, และระวี สัจจโสภณ. (2555). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. วารสารครุศาสตร์. 40(1) : 14-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-03-03 (2)
- 2023-02-27 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.