This is an outdated version published on 2023-03-02. Read the most recent version.

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบล สู่เทศบาลตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • จิตรา คีรีรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • ตะวัน พูลสุด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • ภูหลวง จุรีพัฒนาวาณิช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • สรัลนุช พิชิตวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • รวินท์ แสงศรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • ติณห์วิชญ์ เปาะทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • กัลยาณี ชื่นมาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • นิธินาถ อุ่ยวัชรานนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • ชลิดา แย้มศรีสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

คำสำคัญ:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การยกฐานะ, เทศบาล, ประชาชน, ปัจจัย, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นในรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กและใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เพื่อให้บริการประชาชนในเขตตำบล ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน แต่ในทางตรงกันข้าม การให้บริการแก่ประชาชนอาจมีข้อจำกัด และความคล่องตัวในการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ที่ไม่เพียงพอ ประกอบกับด้านความเจริญของท้องถิ่นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนมีมากขึ้น จึงก่อให้เกิดการยกฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบลสู่เทศบาลตำบล ดังนั้นในการยกฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบลสู่เทศบาลตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานปกครองท้องถิ่นนั้น ได้มีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้น สามารถให้บริการสาธารณะ รวมถึงสามารถพัฒนาท้องถิ่นได้ในขอบเขตที่กว้างขวางและมีอิสระในการบริหารงานมากขึ้น รวมทั้งมีทรัพยากรการบริหารเพิ่มขึ้นกว่าเดิม และรวมถึงการสร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นการปกครองโดยประชาชนซึ่งอาจมองได้ว่าแนวคิดการยกฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะพหุมิติ (Multi – Dimensional) ซึ่งหมายความว่ามีปัจจัยต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องหลายปัจจัยและมีการนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงแง่มุมต่าง ๆ ในทุกมิติและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ และควรจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ที่สำคัญคือ มีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกณฑ์ในการจัดตั้งและยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบล จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ รายได้ จำนวนประชากร และขนาดพื้นที่ ทั้งนี้แนวทางในการเพิ่มทรัพยากรทางการบริหารแก่ท้องถิ่น ไม่ใช่เพียงแค่การยกฐานะท้องถิ่นเท่านั้นแต่ต้องทำให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการบริการสาธารณะ และท้องถิ่นเองควรจะตระหนักในความรับผิดชอบต่อประชาชนในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของท้องถิ่นอีกด้วย เพื่อนำไปสู่เป้าประสงค์สำคัญในการปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นนั่นเอง ทั้งนี้การยกฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบลสู่เทศบาลตำบลมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งหากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความต้องการจะยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลจึงมีความจำเป็นต้องศึกษารายละเอียด และผลกระทบของการยกฐานะอย่างรอบด้าน รวมถึงให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลัก และเมื่อพร้อมรับปัญหาที่เกิดขึ้นในตัวกระบวนการยกฐานะแล้วนั้น การจะดำเนินการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลนั้นต้องบอกถึงเหตุผลความจำเป็นในพื้นที่ ข้อจำกัดของการบริหารงานแก่ประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงความจำเป็นในพื้นที่กับการยกฐานะเป็นเทศบาล ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลต้องคำนึงถึงความพร้อมของประชาชนเป็นหลัก

References

สุนทรชัย ชอบยศ. “กระบวนการและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในจังหวัดขอนแก่น” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555.

ธีรเดช สิริอาไพรัตน์. (2551). การเมืองในกระบวนการยกฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาล: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ฟ้าใส เสนาธรรม. (2551). ผลกระทบของการยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล: กรณีศึกษาตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,คณะรัฐประศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุพาภรณ์ รักษาคุณ(2546). ทัศนะของประชาชนต่อการยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่” วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลดาวัลย์ วัฒนาโกศัย. ความพร้อมของคณะกรรมการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประทาน คงฤทธิศึกษากร. 2534. การปกครองท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:โครงการส่งเสริมเอกสาร

วิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

ประทาน คงฤทธิศึกษากร 2529. สุขาภิบาลในฐานะหน่วยการปกครองตนเอง : ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อโอกาสการยกฐานะเป็นเทศบาลของสุขาภิบาล, กรุงเทพมหานคร:เอกสารการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. คู่มือการจัดตั้งยกฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” กรมส่งเสริม

การปกครองท้องถิ่น. http://www.dla.go.th/upload/templateOrganize/menu/2014/10/1413194928266.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-27 — Updated on 2023-03-02

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ