This is an outdated version published on 2023-02-27. Read the most recent version.

การจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากโครงการพัฒนาของรัฐ: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ศุภฤกษ์ การะเกตุ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ คณะวิทยาการจัดการ และ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ความขัดแย้ง, โครงการพัฒนาของรัฐ, การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง, ม่วงงาม, สิงหนคร, สงขลา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ความขัดแย้ง พัฒนาการความขัดแย้ง และข้อขัดแย้งจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร
จังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้งจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ศึกษา 3) เสนอแนะแนวทางการการจัดการความขัดแย้งการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ศึกษา ในการศึกษานี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยเลือกจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาคือ ตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง มีผู้ให้ข้อมูลรวม 17 คน แบ่งเป็น หน่วยงานระดับภูมิภาค จำนวน 2 คน หน่วยงานระดับท้องถิ่น จำนวน 6 คน ฝ่ายสนับสนุนโครงการฯ จำนวน 2 คน และฝ่ายคัดค้านโครงการฯ จำนวน 7 คน ร่วมกับการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ หาข้อสรุป และข้อเสนอแนะ

         ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์และพัฒนาการความขัดแย้งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ความขัดแย้งแฝง ความขัดแยงที่กำลังเกิด และความขัดแย้งที่ปรากฏออกมา โดยข้อขัดแย้งที่มีต่อสถานการณ์คือ ภาครัฐต้องการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลเพื่อป้องกันสถานที่ราชการ แนวถนนเลียบชายหาดและบ้านเรือนของประชาชนจากการกัดเซาะของคลื่นทะเล แต่ประชาชนในพื้นที่โครงการฯ มีความกังวลต่อผลกระทบที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน สาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งมี 4 สาเหตุ ได้แก่ ความขัดแย้งด้านข้อมูล ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง และความขัดแย้งด้านค่านิยม โดยการจัดการความขัดแย้งของภาครัฐและภาคประชาชนมีด้วยกัน 6 แนวทาง ได้แก่
1) การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง 2) การเจรจา 3) การรวมกลุ่มของภาคประชาชน 4) การคัดค้านโครงการด้วยแนวทางสันติและสร้างสรรค์ 5) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และ 6) ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎร และข้อเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้งฯ ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การจัดตั้งคณะทำงาน 2) การแก้ไขระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องและปรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ 3) การรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และ 4) การให้อำนาจชุมชนในพื้นที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง

References

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2539). “ชาติพันธุ์และความขัดแย้ง” ในสันติฤษฎี/วิถีวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง

ไชยา เกษารัตน์, และอิศรัฏฐ์ รินไธสง. (2562). การจัดการความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน จากการดำเนินโครงการพัฒนาทะเลและชายฝั่ง กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์, 11(1), 116-149.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ. (2561). การจัดการความขัดแย้ง: ความรู้เบื้องต้นและกรณีศึกษา. สงขลา: พี.ซี พริ้นติ้ง.

พฤทธิสาร ชุมพล (2552). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์.

วรศักดิ์ พ่วงเจริญ. (2549). ทฤษฎีความขัดแย้งและการวิเคราะห์ปัญญาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 33). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาลัยเชียงใหม่

สรวิศ ลิมปรังษี. (2559). การจัดการความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-27

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย