ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคชานมไข่มุก ในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • จันติมา จันทร์เอียด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, ชานมไข่มุก, เขตเทศบาลเมืองสงขลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคชานมไข่มุก ในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของผู้บริโภคชานมไข่มุกในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคชานมไข่มุกในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จำนวน 400 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ของปัจจัยโดยการทดสอบสมมติฐานและสถิติไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคชานมไข่มุกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-24 ปี พนักงานบริษัทเอกชน การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีรายได้เดือนละ15,001 – 25,000 บาท บริโภคมากกว่า 6 แก้ว/สัปดาห์ ช่วงเวลาการบริโภคมากที่สุด คือ ช่วงบ่าย เหตุผลหลักในการบริโภคชานมไข่มุก คือ รสชาติของชานมไข่มุก สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ชื่นชอบบริโภคมากที่สุด คือ ชานมต้นตำรับ และท็อปปิ้งที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด คือ ไข่มุก ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ และรายได้ต่อเดือน ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อชานมไข่มุกของกลุ่ม ตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมทางการตลาด กระบวนการ ลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคชานมไข่มุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับข้อเสนอแนะ ควรมีกิจกรรมที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถชักชวนเพื่อน ๆ มาซื้อชานมไข่มุกกับทางร้านเพิ่มมากขึ้น 

References

จาตุรงค์ แก้วสามดวง และคณะ. (2563) ปัจจัยที่ส่งผลต่อธุรกิจชานมไข่มุกในประเทศไทย. วารสารธรรมศาสตร์, 39(1), 117-130.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

เบญจพลอย โพธิพีรนันท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคชานมไข่มุก กรณีศึกษาร้าน Tea More. ปริญญานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

บุรินทร์ รุจนพันธุ์, 2556). เกณฑ์การแปลความหมาย. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563. จาก https://www.thaiall.com/blog/burin/4967/

ประจักษ์ กึกก้อง และคณะ. (2562). ความสำคัญของปัจจัยทัศนคติ แรงจูงใจ และส่วนประสมทางการตลาด ของ นักศึกษาที่บริโภคชานมไข่มุกมหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร จังหวัดกําแพงเพชร. รายงานสืบ เนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. 1069-1075.

มติชนออนไลน์. (2563). อร่อยอินเทรนด์…ละมุนลิ้น กับ ไข่มุกน้ำตาลทรายแดง ‘ดิ แอลลี่. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563. จาก https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_1312445.

รุจิรา จันโทมุข และคณะ. (2562). พฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของผู้อยู่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ ประจำปี 2562. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 115-119. ร้าน ชานมไข่มุก ยอดนิยม ในเมืองสงขลา ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563. จาก https://www.wongnai.com/restaurants?regions=6543&categories=62&page.

วาสนา เที่ยงกระโทก และคณะ. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต#อพฤติกรรมการบริโภคชานม ไข่มุกแบรนด์ต่างประเทศของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและการจัดการ, 9(2), 181-194.

สุดปรารถนา หนึ่งน้ำใจ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(36), 63-71.

สุภาพร พิจิตรชุมพล และคณะ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มชานมไข่มุกแบรนด์ คามุ ของผู้บริโภค ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าเวสต์เกต. การประชุมวิชาการระดับชาติ RTBEC 2020. 246-258.

สรินยา อารีย์รักษ์. (2562). กระบวนการตัดสินใจบริโภคชานมไข่มุกของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ