นวัตกรรมชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังวิกฤตการณ์ Covid-19: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เลิศพร อุดมพงษ์ สถาบันพระปกเกล้า
  • รัชวดี แสงมหะหมัด สถาบันพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

นวัตกรรมชุมชน, ความเข้มแข็งของชุมชน, ความเหลื่อมล้ำ, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบนวัตกรรมชุมชนด7วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำนวัตกรรมชุมชนไปใช้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและลด ความเหลื่อมล้ำ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังวิกฤตการณ โควิด-19 พื้นที่กรณีศึกษา คือ เทศบาล ตำบลหัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นำท่องที่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้แทนกลุ่ม อาชีพ และผู้แทนชุมชน จำนวน 30 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) เพื่อให้คนในพื้นที่กรณีศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติ การขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห เนื้อหาและสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามแผนผลการศึกษาพบว่า “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลหัวเวียง” เป็นนวัตกรรมชุมชนเพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งและลดความเหลื่อมล้ำจากผลการระดมความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีกิจกรรม 5 เรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ด้วยข้อจำกัดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องมีการปรับแผนการดำเนินงาน ทำให้ได้ผลผลิตของงานนี้เปDนการเตรียมการสำหรับการดำเนินกิจกรรมจริงในอนาคต โดยได้จัดทำคู่มือการท่องเที่ยววิถีชุมชนเทศบาลตำบลหัวเวียง จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ และจัดทำเพจท่องเที่ยววิถีชุมชนเทศบาลตำบลหัวเวียง ซึ่งผลจากการสรุปความคิดเห็นของกลามเป้าหมายหลังการดำเนิน กิจกรรมเตรียมการเพื่อขับเคลื่อนโครงการ พบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำนวัตกรรมชุมชนไปใช้ ประกอบด้วย (1) ต้องมีการสร้างและต่อยอดการทำงานแบบมีส่วนร่วมเช่นนี้ในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในทุกกลุ่ม (2) ต้องมีการสร้างผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งเป็นเครือข่ายกันในการทำงาน (3) ต้องลงพื้นที่จริงเพื่อไปรับฟังความคิดเห็น และ (4) ต7องดึงคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาร่วมในการดำเนินการ จึงจะเกิดความยั่งยืน และหากได้มีการดำเนินการจริง ตามแผนงานและกิจกรรมที่ออกแบบไว้ นวัตกรรมนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและลดความเหลื่อมล้ำในชุมชนได้

References

ชลกร ภู่สกุลสุข และ พนิตนาฏ วิสุทธิธรรม. (2556). การศึกษาและพัฒนาการจัดการนวัตกรรมสุขภาพชุมชน. ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสนุนงบประมาณจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). นวัตกรรมก็เกิดขึ้นได้ในวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนในภาคใต้. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/ReasearchPaper/community_enterprise.pdf

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). การประเมินโอกาสการเกิดภาวะเงินฝืดของไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/BOX_MPR/BOXM

PR_Q2_1.pdf

ธานี ชูกําเนิด, ฐิติมดี อาพัทธนานนท์, มารุต ดําชะอม และ เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2558). การพัฒนารูปแบบกระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของปราชญ-ชาวบ้านภาคใต้. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(2). กรกฎาคม-ธันวาคม 2558.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ และ คณะ (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมภูมิปrญญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร(วิจัย. 7(2). กรกฎาคม-ธันวาคม 2558.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ(ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ-แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศาสตรา สุดสวาท. (2563). มาตรการภาครัฐ กับการรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคโควิค-19. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/618806

สํานักงานนวัตกรรมแห#งชาติ. (2548). นวัตกรรมคนไทยทําได้จากแนวคิดสู#แนวทางการปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ:

สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2563. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10518

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่. (2563). ประกาศรับข้อเสนอแผนงานสําคัญ (Flagship) ประจําปีงบประมาณ 2563 ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th/A/wp-content/uploads/2019/12ประกาศรับข้อเสนอแผนงานสําคัญ-ชุมชนนวัตกรรม.pdf

Maclusky, G. (2018). This is Community Innovation. สืบค้นจาก https://cdn2.hubspot.net/hubfs/316071/Resources/Article/This%20is%20Community%20Innovation%20-%20Galen%20MacLusky.pdf?__hssc=163327267.7.1602491965202&__hstc=163327267.f85faecbb27296b3641926104c1e4a63.1602491965202.1602491965202.1602491965202.1&__hsfp=3755985968&hsCtaTracking=cafd94e1-84b8-435f-9f9e-3dc6958723c0%7C4450959a-b0b7-48d6-9cfe-ccf6dc144299

Sherwood, D. (2001). Smart Things To Know About Innovation & Creativity. Oxford: Capstone Publishing Limited.

World Bank. (2020). World Bank: COVID-19 recession is expected to be twice as bad as the 2009 financial crisis. สืบค้นจาก https://www.weforum.org/agenda/2020/06/coronavirus-covid19-economic-recession-global-compared/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ