แนวทางการบริหารคนเก่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

ผู้แต่ง

  • วรรณวิภา ไตลังคะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ชูชีพ เบียดนอก

คำสำคัญ:

การบริหารคนเก่ง, องค์การสมรรถนะสูง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

องค์การที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงมีแนวโน้มว่ามีความสามารถในการสะสมคนเก่งไว้สูงด้วยเช่นกัน ขณะที่การบริหารคนเก่งยังไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่มีเป้าหมายเพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จ เป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงาน จัดบริการสาธารณะแก่ประชาชน ตามเจตนารมณ์ของการปกครองตนเอง และองค์ประกอบในการขับเคลื่อนที่สำคัญคือทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นการได้รับทราบแนวทางการบริหารคนเก่งจะนำมาซึ่งความเป็นองค์การที่มีผลสัมฤทธิ์สูง การวิจัยครั้งนี้จึงได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการบริหารคนเก่ง และนำเสนอแนวทางการบริหารคนเก่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล จำนวน 251 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและเทคนิค PNImodified และผลการวิจัยพบว่า

 สภาพแวดล้อมทางการบริหารคนเก่งขององค์กรปกครองท้องถิ่นไทย มีจุดแข็งในด้านการกำหนดค่านิยมและกลยุทธ์องค์การ คุณภาพการบริหาร มีจุดอ่อนในด้านการพัฒนาคนเก่ง การปรับปรุง และการทำใหม่ มีโอกาสในด้านนโยบายของรัฐ และมีภัยคุกคามคือ สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ประชากร และเทคโนโลยี สำหรับแนวทางการบริหารคนเก่ง ประกอบด้วย (1) การพัฒนาคนเก่ง (2) การสร้างวัฒนธรรมส่งเสริมคนเก่ง (3) การกำหนดค่านิยมและกลยุทธ์องค์การ (4) การบริหารคนเก่ง เชิงบูรณาการ และ (5) การประเมินเพื่อค้นหาคนเก่ง และจากผลการวิจัยนี้มีข้อสรุปบางประการที่พบว่า คนเก่งมีความสามารถในการมองอนาคต มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดต่างจากบุคคลอื่น มีความต้องการการ พัฒนาและแสวงหาโอกาสใหม่ ซึ่งคุณลักษณะเบื้องต้นเหล่านี้สอดคล้องและส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการ เปลี่ยนแปลง

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2563, 20 เมษายน). ข้อมูลจํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด. เข้าถึงได้จาก http://www.dla.go.th/work/abt/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563.

ขวัญสิรี เพิ่มกว่าเก่า. (2559). ความพึงพอใจในการบริหารจัดการคนเก่งในธนาคาร กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย. รายงานการวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จีระ หงส์ลดารมภ์. (2555). 8K's+5K's ทุนมนุษย'ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : Chira Academy Pub.

นพพล อัคฮาด. (2560, มกราคม - มิถุนายน). แนวทางการจัดการทุนมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงในการให้บริการสาธารณะในศตวรรษที่ 21. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. หน้า 26-27.

ประพัฒน์พงษ์ พรพิมล, พจอ. (2560, 16 พฤษภาคม). การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินผลระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 หน้า 371.

พสุธิดา ตันตราจิณ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559, มกราคม - เมษายน). “การพัฒนาและการธํารงรักษาคนเก่งในองค์การ กลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อนองค์การสู่ความสําเร็จ” Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 : หน้า 920.

ภาณพันธ์ โอฬารกิจไพบูลย์ และคณะ. (2560, มกราคม - เมษายน). การพัฒนาตัวแบบการจัดการคนเก่งเชิงรุกของวิศวกรในอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดดิสก์. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 : หน้า 244.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต,องการจําเปmน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานข้าราชการพลเรือน. (2563). คู#มือการบริหารจัดการกําลังคนคุณภาพ. ศูนย์นักบริหารระดับสูงสํานักงาน ก.พ.

อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2563, มกราคม - มิถุนายน). การบริหารจัดการคนเก่งของพนักงานคนไทยในบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจ

และสังคมศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 : หน้า 81.

Alan R. and Graham A. (2003). Managing Talented People: Getting on with – and Getting the Best from – Your High Performers. Pearson Education.

Boston Consulting Group. (2007). The future of HR in Europe, Key challenges through 2015. Boston: Dusseldorf, Boston Consulting Group.

Cheese, P., Thomas R.J. and Craig, E. (2008). The talent power organization: strategies for globalization, talent management and high performance. London: London and Philiidaphia, Kogan Page.

Collings, D. G. and Mellahi, K. (2009). Strategic Talent Management: A Review and Research Agenda. Human Resource Management Review, 19(4), 304-313.

Davies B. and Davies J. B. (2011). Talent Management in School. Sage Publication.

Economist Intelligence Unit. (2006). The CEO’s role in talent management, how top executives from ten countries are nurturing the leaders of tomorrow. London: The economist.

Gardner, H (1999). Intelligence Reframed Multiple Intelligences for the 21st Century. New York: Basic Books.

Hatum, A. (2010). Next Generation Talent Management: Talent Management to Survive Turmoil. New York: Palgrave Macmillan.

IIes, P. Preeceb, D. and Chuaic X. (2010). Talent management as a management fashion in HRD, towards a aresearch agenda. Human Resource Development International, 13(2), 125-145.

Morton, L. (2005). Talent Management Value Imperatives: Strategies for Execution. New York: The Conference Board.

Michaels, E., Handfield-Jones, H. and Axelrod, B. (2001). The War for Talent. Harvard Business School Press.

Schuler, R. S., Jackson, S. E. and Tanique, I. (2011). Global Talent Management and Global Talent Challenges, Strategic Opportunities for IHRM. Journal of World Business. 46(4), 506.

Wall, A. A. (2012). What Makes a High Performance Organization: Five Validated Factors of Competitive Advantage that Apply Worldwide. Global Professional Publishing Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ