ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • ธัญญรัตน์ ทองขาว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การ บริหารส่วนตำบลท่าชะมวง ตามแนวทางหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักคุณธรรม หลักนิติ ธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า และหลักความโปร่งใส และเปรียบเทียบความ คิดเห็นของประชาชนต่อผลการดําเนินงานตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ศาสนา อาชีพ รายได้ การเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ และการเข้าร่วม กิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน พื้นตำบลท่าชะมวง จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ค่าทางสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า t–test และค่า Ftest ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงานของ องค์การบริหารส่วนตำบล ท่าชะมวงตามแนวทางหลัก ธรรมาภิบาล ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ธรรมาภิบาลด้านหลักนิติธรรมมี ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ธรรมาภิบาลด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักการมีส่วน ร่วม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความโปร่งใสตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของ ประชาชนต่อผลการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ท่าชะมวง จําแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อาชีพ รายได้ ศาสนา การเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มพัฒนาในพื้นที่ และการเข้าร่วม กิจกรรมที่จัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าชะมวงที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดําเนินงาน ขององค์การบริหารส่วนตำบล ท่าชะมวงตามแนวทางหลักธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ และประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลการ ดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ท่าชะมวงตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ข้อเสนอแนะสำหรับองค์การบริหารส่วน ตำบล ท่าชะมวงที่ควรปรับปรุง คือ ธรรมาภิบาลด้านหลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าชะมวงควรมีการพัฒนาการสื่อสารโดยการใช้ช่องทางในการสื่อสารข้อมูล ข่าวสารต่างๆ กับประชาชนให้เพิ่มขึ้น เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านทางแอพพลิเคชั่น ไลน์ เฟซบุ๊ก โดยใช้รูปแบบที่น่าสนใจ เช่น การทำคลิปวิดิโอสั้นในการนําเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ครอบคลุม ประชาชนทุกกลุ่ม จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและมีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นช่องทางที่ประชาชนจะสอบถาม เสนอแนะ หรือค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ตรวจสอบการ ทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ท่าชะมวงได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลที่ดียิ่งขึ้นในการบริหารจัดการตาม แนวทางหลักธรรมาภิบาล

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

ชลัช วงษ์วิฑิต. (2558). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/issue14/article/ view/370

ดุจหทัย ครุฑเดชะ. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=282100

ดวงตา ราชอาษา. (2558). แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในยุคทุนนิยม. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.praewa.ksu.ac.th/new2017/file/20170317_6167216169

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). ทศธรรม ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.

ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. (2545). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

ธีรยุทธ บุญมี. (2541). ธรรมรัฐแห่งชาติยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สายธาร.

ธรรมรังสี วรรณโก. (2550). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

นพพล สุรนัคครินทร์. (2547). การนําหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลตามทัศนะของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/31815

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). ธรรมาภิบาลในองค์กรอิสระ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้. (2546). รายงานการวิจัยตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

พิกุล คุณเชื่อง. (2559). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/issue/view/3390

วิทสันต์ ไร่วิบูลย์ และคณะ. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดําเนินงานตามหลัก ธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://gjournal.ksu.ac.th/file/20150728_0459187528.pdf

วรพจน์ ประชิตวัติ. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.western.ac.th/media/attachments/2019/01/11/1.-.-..pdf

วรภัทร โตธนเกษม. (2542). การสร้าง Good Governance ในองค์กร. วารสาร กสท., (ตุลาคม), หน้า 17-18.

ศุภศักดิ์ บุญญะสุต. (2561). ปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานตามหลัก ธรรมาภิบาล ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/140317

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและมูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สถาบันพระปกเกล้า. (2549). ทศธรรม ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สมยศ ปัญญามาก. (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/143953

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561). ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบทางสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร์.

อานันท์ ปันยารชุน. (2541). คนดีที่สังคมยังต้องการ. กรุงเทพฯ : แสงดาวการพิมพ์.

อรทัย ก๊กผล. (2561). ท้องถิ่น ‘‘ทบทวน ท้าทาย’’ เพื่อการจัดบริการสาธารณะ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-12

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ