ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติของจังหวัดอุบลราชธานี: ศึกษาเฉพาะกรณีการปลูกมันสําปะหลัง

ผู้แต่ง

  • พิชญา วิทูรกิจจา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาชิ้นนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติของในพื้นที่ 4 อําเภอของจังหวัดอุบลราชธานี (อําเภอสว่างวีรวงศ์ พิบูลมังสาหาร นาเยีย และวารินชําราบ) โดยอาศัยการวิเคราะห์จากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (เน้นที่ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และเกษตรกรในพื้นที่) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เนื้อหาสาระของนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ ตั้งแต่วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด แนวทางปฏิบัติ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ส่งผลต่อแผนปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงระหว่างนโยบายของรัฐ นโยบายของกระทรวง และยุทธศาสตร์ของจังหวัด ไม่สอดคล้องและยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าวยังคงสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของนโยบาย กล่าวคือ ความร่วมมือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันผลักดันนโยบาย นอกจากนี้จะพบว่านโยบายดังกล่าวยังมีความเชื่อมโยงกับโครงการเดิมในพื้นที่ ในท้ายที่สุด ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายคือ (1) ภาครัฐต้องกําหนดเนื้อหาสาระของนโยบายให้มีความชัดเจน (2) ภาครัฐต้องกําหนดหลักเกณฑ์และทิศทางของนโยบายเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรให้เข้มข้น (3) ภาครัฐควรปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรเกี่ยวกับการทําเกษตรอินทรีย์ (4) ภาครัฐควรปรับบทบาทการช่วยเหลือให้สอดคล้องกับศักยภาพของเกษตรกร (5) ภาครัฐควรมีการถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง (6) ภาครัฐควรเรียนรู้เกี่ยวกับระบบตลาดของมันสําปะหลังมากขึ้น

References

Dye, T.R. (2015). Understanding Public Policy, (14th ed.). Boston: Pearson.

Edward, G. C. III and Sharkansky, I. (1978). The Policy Predicament: Making and Implementation Public Policy. San Francisco: W.H. Freeman and Company.

European Commission. (2012). The Bioeconomy in the European Union in numbers Facts and figures on biomass, turnover and employment. Retrieved 22 February 2019, from https://ec.europa.eu/jrc/sites/jrcsh/files/JRC97789%20Factsheet_Bioeconomy_final.pdf

Grindle, M.S. (1 9 8 0 ) . Politics and Policy Implementation in the Third World. New Jersey: Princeton University Press.

Hood, C.C. (1976). The limits of administration. London: John Wiley.

เจษฎา มิ่งฉาย. (2552). เกษตรอินทรีย์: การวิเคราะห์เชิงนโยบายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

โสภิตา สมคิด และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบการผลิตแป้งมันสําปะหลังอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่การผลิตของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์ ในภูมิภาคอาเซียน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

ประชาชาติ. (2561). เกษตรฯบูม “มันสําปะหลังอินทรีย์” ขยายช่องทางชาวไร่ทําเงิน. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-105737

ประชาชาติ. (2561). อุบลไบโอรับอานิสงส์ฮับชีวภาพ อุตฯ อัดสิทธิประโยชน์ต่อยอดอีสานล่าง, เงิน. สืบค้น 26 มการาคม 2562, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-198739

ปรารถนา ยศสุข และพงศกร กาวิชัย. (2560). “ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมการนํานโยบายเกษตรอินทรีย์สู่การปฏิบัติในประเทศไทย.” วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(1), 129 – 141.

มยุรี อนุมานราชธน. (2551). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย. (2559). “อุบลโมเดล” ต้นแบบพัฒนาฐานเศรษฐกิจพลังงาน ทดแทน, สืบค้น 26 มการาคม 2562, จาก http://aeitfthai.org/article/1275.html

รัฐบาลไทย. (2560). รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต, สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1458

วรีรัตน์ ศรีสถิตย์วัฒนา และ มนตรี โสคติยานุรักษ์. (2561). “ตัวแบบเชิงบูรณาการของการกําหนดนโยบายสาธารณะ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนํายุทธศาสตร์ข้าวไทยไปปฏิบัติ.” วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 6(2). 261.สํานักกรรมาธิการ 1

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). รายงานคณะกรรมธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง “การปฏิรูปเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)”. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d022959-02.pdf

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร. สืบค้น 20 มกราคม 2562, จาก http://www.oae.go.th/view/เอกสารเผยแพร่ย้อนหลัง/TH-TH

สุภัทร ธนบดีภัทร. (2561). สถานการณ์มันสําปะหลังที่เปลี่ยนแปลงไป. สืบค้น 10 ธันวาคม 2562, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/NorthEastern/DocLib_Research/cassava_situation_change.pdf.

อุบลไบโอเอทานอลกรุ๊ป. (2560). เกษตรกรต้นแบบอุบลโมเดล...ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://ubonbioethanol.com/newsdetail/knowledge/230

นางสาวกัณฑ์พร กรรณสูต. ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสื่อสารองค์กร. กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล. (21 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นายกมล โสพัฒน์. รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. สํานักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. (22 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นายประวีณ เขียวขํา. รักษาการหัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ. สํานักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. (7 มกราคม 2563). สัมภาษณ์

นายคมเพชร สมแสวง. นักวิชาการเกษตรชํานาญการ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (26 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นายนันทพล หนองหารพิทักษ์. ผู้อํานวยการกลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2 กันยายน 2562). สัมภาษณ์

นายสถาพร ใจอารีย์. รองอธิบดีด้านวิชาการ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2 กันยายน 2562). สัมภาษณ์

นายอรรถยา ลาพ้น. นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ. สํานักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. (22 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นิรุตต์ ไชยโกฎ. นักวิชาการเกษตร. สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4. (25 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

พันมหา ทองบ่อ. ผู้อํานวยการสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (26 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

โสภิตา สมคิด. ผู้อํานวยการกลุ่มวิชาการสํานักวิจัยและวิชาการเกษตร. สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4. (24 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

อภิวัฒน์ ดียิ่ง. จ้างเหมาบริการ. สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4. (25 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นายพีระวัส คํากระจาย. เจ้าหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบและลานมันออแกนิคไทย. กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล. (22 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นางสาวอุทิศา นามวิจิตร. ผู้ช่วยงานบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ. กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล. (22 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นายวัฒนา โสภาพรม. เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดอุบลราชธานี. (25 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นายคําดี ศุภนานัย. เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดอุบลราชธานี. (25 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นางสมพิศ นารัตน์. เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดอุบลราชธานี. (25 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นางสาวจารุณี ใจสุข. เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดอุบลราชธานี. (25 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นางสมใจ พละพงษ์. เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดอุบลราชธานี. (25 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์

นายสฤษดิ์ วิฑูรย์. ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี. (8 มกราคม 2563). สัมภาษณ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ