บทบาทของเทคโนโลยีอวกาศและภมู ิสารสนเทศกับการบริหารงานภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • อมเรศ กลิ่นบัวแก้ว
  • สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
  • ไชยวัฒน์ เผือกคง

คำสำคัญ:

การบริหารภาครัฐ, เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, นโยบาย, เครือข่ายภาครัฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอรูปแบบการนําเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ซึ่งเป็นนวัตกรรมขั้นสูงมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ โดยสามารถนําไปใช้ประโยชน์ด้านการบริหารและจัดการเชิงพื้นที่ (Area Based) ได้อย่างเหมาะสม อันส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การลดความเหลื่อมล้ำในประเด็นต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดทรัพยากรภาครัฐ กล่าวคือ ในการเข้าถึงพื้นที่เป้าหมาย รัฐต้องใช้ข้อมูลจากการสํารวจพื้นที่จริง ประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และนํามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหา จนถึงขั้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณมาก แต่ด้วยบทบาทของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศที่อยู่ใกล้ตัวมากขึ้น เข้าถึงได้ง่ายขึ้นทําให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐสามารถนําข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา ประเมินผลสําเร็จรวมถึงคาดการณ์สถานการณ์ได้อย่างชัดเจน สะดวก รวดเร็ว แม่นยําและประหยัดงบประมาณมากยิ่งขึ้นดังนั้น การเรียนรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและนําเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเป็นสิ่งสําคัญต่อการก้าวสู่ความเป็นไทยแลนด์ 4.0

References

Akhlaque Haque. (2001). Supplemental Readings in GIS and Public Management GIS, Public Service and the Issue of Democratic Governance. School of Public and Nonprofit Administration. Grand Valley State University. USA.

ESRI (2019). GIS for Green Government: Providing Sustainable Solutions. (สืบค้นจาก: https://www.esri.com/library/brochures/pdfs/gis-for-green-government.pdf)

Georgios N. Kouziokas (2006). Geospatial Based Information System Development in Public Administration for Sustainable Development and Planning in Urban Environment. European Journal of Sustainable Development (2016), 5, 4, 347-352.

NipadaRuankaew (2005). GIS and epidemiology. Journal of the Medical Association of Thailand (JMed Assoc Thai). Vol 88 No 11.

Sorin Dan. (2015). The new public management is not that bad after all: evidence from Estonia, Hungary and Romania. Transylvanian Review of Administrative Science, 44(E/2015), pp. 57-73.

จินตนา ไชยวัณณ์, วราภรณ์ บุญเชียง และรังสิยา นารินทร์ (2559). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในชุมชนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. Vol 46 No 3.

จินตนา อมรสงวนสิน (2007). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (GIS for Sustainable Development). วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม (Journal of Environmental Management). Vol 3 No 2. คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิทยา บวรวัฒนา. (2555). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : ศักดิโสภาการพิมพ์.

ภักดี รัตนมุขย์. (2561). Thailand 4.0 ตอบโจทย์ประเทศไทย? “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ก้าวข้ามกับดักประเทศไทย

0. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ปัญญาชน.

สันสิทธิ์ ชวลิตธํารง. (2546). หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2552). ตําราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด มหาชน.

สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2561). จิสด้า เราจะนําคุณค่าจากนวัตกรรมอวกาศและเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกใบนี้ให้คุณเห็น. กทม.

สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2562, 13 กุมภาพันธ์). เกี่ยวกับ สทอภ. (เวปไซด์). สืบค้นจาก https://gistda.or.th/main/th/node/66

อมเรศ กลิ่นบัวแก้ว. (2560). แนวทางการพัฒนาองค์การมหาชน (Developmental Approaches for the Public Organization). (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2543). รัฐประศาสนศาสตร์ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เสมาธรรม.

เอกวิทย์ มณีธร. (2554). ระบบราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนของไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด เอ็ม.ที.เพรส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-11

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ