ประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ KPI e-ประสิทธิภาพของบทเรียน E-learning และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ KPI E-learning หลักสูตรเตรียมความพร้อมสําหรับการเมืองระดับชาติสถาบันพระปกเกล้า

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ นากระโทก สํานักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

อีเลินนิ่ง, ประสิทธิภาพบทเรียน, ความพึงพอใจ, การเมืองระดับชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสํารวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ KPI e-Learning หลักสูตรเตรียมความพร้อมสําหรับการเมืองระดับชาติ สถาบัน พระปกเกล้า เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพบทเรียน และ 2) แบบสอบถามความพึง พอใจ ประชากร คือ ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านหลักสูตร e-Learning หลักสูตรเตรียมความพร้อมสําหรับ การเมืองระดับชาติ จํานวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาในระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ถึงรอยละ 94.34 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือภูมิลําเนาที่ผู้เรียนอาศัย อยู่มีสัดส่วนมากที่สุด 2) บทเรียน e-Learning มีประสิทธิภาพระดับมากที่สุด 3) ผู้ใช้ระบบ KPI e-Learning มี ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ณัฐพงษ์ ประเสริฐสังข์. 2557. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้บทเรียน e-Learning วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2545. Design e-Learning: หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์ และคณะ. 2563. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ โดยใช้ Microsoft Teams. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.

ภัทร์พงศ์ พงศ์ภัทรกานต์. 2554. การศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาการคอมพิวเตอร์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ยอดนภา เกษเมือง. 2554. การพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเว็บไซตเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัครพล จันทะมา. 2557. การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เรื่อง การสร้างผังงานโฟลว์ชาร์ต สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Yamane Taro. 1967. Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper&row.

ประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ KPI e-ประสิทธิภาพของบทเรียน E-learning และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ KPI E-learning หลักสูตรเตรียมความพร้อมสําหรับการเมืองระดับชาติ สถาบันพระปกเกล้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-06

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ