การสังเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัยในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ศรันย์ดิษฐ์ เบญจพงศ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ศิวพร โพธิวิทย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

พนักงานมหาวิทยาลัย, การบริหารทรัพยากรบุคคล, สถาบันอุดมศึกษา, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

พนักงานมหาวิทยาลัยเป็นรูปแบบการจ้างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทยเพื่อทดแทนอัตรากำลังข้าราชการ และปัจจุบันนับเป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์คุณลักษณะและผลการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย โดยใช้การวิจัยข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) สืบค้นและอ้างอิงจากบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่จนถึงปัจจุบันของฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กำหนดคำสำคัญที่ใช้ ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัย ได้บทความจากฐานข้อมูลทั้งหมด จำนวน 179 เรื่อง และถูกคัดเลือกโดยใช้แนวทางของ PRISMA ผลการศึกษา พบว่า มีบทความที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 50 เรื่อง และพบประเด็นสำคัญ อาทิ ความผูกพัน คุณภาพชีวิตในการทำงาน สวัสดิการ ผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นแนวโน้มการวิจัยการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา และสามารถนำไปอ้างอิง รวมทั้งมีประโยชน์ต่อการบริหารสำหรับสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

References

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. บริหารธุรกิจ, 37(142), 16-32. http://www.jba.tbs.tu.ac.th/index.php?page=Article-List&sub=1&txt=487

อัจฉรา หล่อตระกูล. (2560). การพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 183-196. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245583

สำนักงาน ก.พ. (2567). กำลังคนภาครัฐ 2566. https://www.ocsc.go.th/?post_type=reports&p=90519

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2546). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. จุดทอง.

สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. เพ็ญพริ้นติ้ง.

สุนิสา ช่อแก้ว. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2566). การใช้เทคโนโลยีกับงานทรัพยากรมนุษย์. รัตนไตร.

Moher, D., Liberati, A., Tetzlaff, J. & Altman, D.G. (2009). Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta-Analyses: The PRISMA Statement. Journal of Clinical Epidemiology, 62(10), 1006-1012. http://dx.doi.org/10.1016/j.jclinepi.2009.06.005

พรนัชชา บุญสา และนิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(5), 367-372. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/article/view/241968

ภาณุพงศ์ ภิรมย์การ และบุษกร สุขแสน. (2564). แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม. มหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 411-422. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/250517

พงษ์เทพ สันติกุล. (2559). การกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ทางสังคมศาสตร์. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 12(2), 1-26.

พิมลพรรณ อิศรภักดี. (2560). ประเด็นและแนวทางการกําหนดหัวข้อเรื่องวิทยานิพนธ์. http://www.rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1468

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

เบญจพงศ์ ศ., & โพธิวิทย์ ศ. (2025). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัยในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 7(1), 106–114. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/paatj/article/view/1952