แนวทางการพัฒนาความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน, ความร่วมมือ, นโยบายสาธารณะบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและรูปแบบความร่วมมือของ กรอ.จังหวัดพะเยา ในแต่ละขั้นตอนนโยบายเศรษฐกิจจังหวัดพะเยา และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการทำงานของ กรอ.จังหวัดพะเยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ภาคเอกชนมีบทบาทในการเป็นผู้สร้างวาระนโยบาย ผลักดันประเด็นปัญหาให้
เข้าสู่วาระนโยบายใน กรอ.จังหวัด โดยให้ กรอ.จังหวัดที่มีบทบาทในตัดสินใจกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันพิจารณาตัดสินทางเลือก และให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำแนวทางไปปฏิบัติ ขณะที่การติดตามประเมินผลจะเป็นลักษณะการกำหนดวาระของภาคเอกชนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานความคืบหน้าหรือผลการดำเนินงานตามแนวทางต่อไป ในส่วนของรูปแบบความร่วมมือของ กรอ.จังหวัด ในแต่ละขั้นตอนนโยบายมีรูปแบบความร่วมมือที่หลากหลาย แต่หากมองในเชิงโครงสร้างเป็นรูปแบบของการประสานความร่วมมือโดยอาศัยโครงสร้างของคณะกรรมการ กรอ.จังหวัด เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการซึ่งจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจของจังหวัด รวมทั้งต้องอาศัยบทบาทผู้นำการสร้างความร่วมมือในการชี้นำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือเป็นตัวกลางในการเจรจาหามติร่วมกันใน กรอ.จังหวัด
References
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2562). คู่มือการปฏิบัติงาน คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ กรอ.จังหวัด และ กรอ.กลุ่มจังหวัด. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13
อัญมณี ปินใจ. (2546). บทบาทของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ต่อนโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.