ความสำเร็จของเครือข่ายความร่วมมือในการทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • น้ำทิพย์ กาศรีวิชัย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความสำเร็จของเครือข่าย, เครือข่ายภาครัฐ, บ้านแม่ตุงติง, อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของการดำเนินงานของเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านแม่ตุงติง และ 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานของเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านแม่ตุงติงและแนวทางการแก้ไขปัญหา งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินงานของเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านแม่ตุงติง มีคุณลักษณะร่วมกัน ได้แก่ การรับรู้มุมมองที่เหมือนกัน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีความสนใจหรือผลประโยชน์ร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน การเกื้อหนุนพึ่งพากัน และการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน 2) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ประกอบด้วย (1) ควรมีการประสานงานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับกลุ่มย่อย (2) ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนยังไม่เพียงพอ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายให้กับราษฎร และ 3) หน่วยงานบางหน่วยงานไม่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราษฎรบางส่วนไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมของเครือข่าย หน่วยงานในพื้นที่ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และมีการกำกับดูแลติดตามการดำเนินงานให้มีความต่อเนื่อง

References

อุดม อุทธาปา. (2566). สัมภาษณ์ส่วนบุคคล วันที่ 5 สิงหาคม 2566.

ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2551). แนวความคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. ธนุชพริ้นติ้ง.

Denhardt and Denhardt. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering, Expanded Edition. M.E. Sharpe, Inc.

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2552). การคุกคามทางเพศในโรงเรียนมัธยมศึกษา. รายงานวิจัย. [ม.ป.พ.].

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. ซัคเซส มีเดีย.

อรทัย ก๊กผล. (2556). การบริหารปกครองสาธารณะ : การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต.

ปิยะมาศ ทัพมงคล. (2561). ปัญหาและอุปสรรคของการสร้างเครือข่ายของการปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาห้วยตองแวด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารปกครองการเมือง, 7(2), 502-541.

วรสิทธิ์ เจริญศิลป์. (2559). การสร้างเครือข่ายชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28