การประเมินการบริหารจัดการองค์กรตามแนวคิด 7S McKinsey ของสมาคมผู้บริโภคสงขลา หน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา สภาองค์กรของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • ธัญรดี ทวีกาญจน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ประเมินภายในองค์กร, McKinsey’s 7S, สมาคมผู้บริโภคสงขลา, สภาองค์กรของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริหารจัดการภายในองค์กรตามแนวคิด 7S McKinsey ของสมาคมผู้บริโภคสงขลา หน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา สภาองค์กรของผู้บริโภค โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารที่เก็บรวบรวมจากเอกสารและรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และการวิจัยภาคสนาม มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน ได้แก่ หัวหน้าหน่วยและบุคลากรในหน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา ด้วยเทคนิคสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาและภาพวิเคราะห์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผลการประเมินการบริหารจัดการภายในองค์กรตามกรอบแนวคิด McKinsey’s 7S ในภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนที่เป็นองค์ประกอบรูปธรรม ด้านกลยุทธ์และด้านโครงสร้างองค์กรอยู่ในระดับสูงนับเป็นจุดแข็ง ด้านระบบอยู่ในระดับปานกลางนับเป็นจุดที่ควรพัฒนา สำหรับส่วนองค์ประกอบนามธรรม ด้านค่านิยมร่วมและด้านรูปแบบการบริหารอยู่ในระดับสูงนับเป็นจุดแข็ง ด้านบุคลากรและด้านทักษะอยู่ในระดับปานกลางเป็นจุดที่ควรพัฒนา ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นชุดข้อมูลเพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์และเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาศักยภาพองค์กร โดยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบงานและการบริหารทุนมนุษย์อย่างเป็นระบบเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

วรรณา ศรีวิริยานุภาพ และคณะ. (2566). การพัฒนาเกณฑ์ขั้นพื้นฐานประเมินคุณภาพขององค์กรผู้บริโภคและการรับรององค์กรเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 15(1), 227-236.

สภาองค์กรของผู้บริโภค. (2563). ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยประจำจังหวัด. https://www.tcc.or.th/tcc-agency/

ธัญรดี ทวีกาญจน์. (2565). คู่มือการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นสูง. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค.

อำนาจ วัดจินดา. (ม.ป.ป.). ประเมินองค์กรด้วย McKinsey 7S. https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170512_102402.pdf

Hanafizadeh, P. & Ravasan, A. (2011). A McKinsey 7S model-based framework for ERP readiness assessment. International Journal of Enterprise Information Systems, 7(4), 23-63.

กษิรา นิติธนนันต์, อรุณ รักธรรม, เพ็ญศรี ฉิรินัง และอุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ. (2564). องค์กรที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดปัจจัย 7 ประการของMcKinsey. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13(3), 159-167.

ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2563) การบริหารจัดการภายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ตามแนวคิด 7S McKinsey. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 38-58.

อัครกิตติ พัฒนสัมพันธ์. (2565). ประสิทธิภาพตามแนวคิด 7s ของ McKinsey: กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(1), 5-13.

Gokdeniz, I., Kartal, C., & Komurcu, K. (2017). Strategic Assessment based on 7S McKinsey Model for a Business by Using Analytic Network Process (ANP). International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 7(6), 342-353.

Masfi & Sukartini. (2022). Effectiveness Of Using The Mc Kinsey 7s Framework Model In Assessing Organizational Performance: A Systematics Review. Journal of Pharmaceutical Negative Results, 13(9), 6589-6598.

กรรณิการ์ สิทธิชัย และสันติธร ภูมิภักดี. (2561). การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7S ของ McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม: กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รับรางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 1419-1435.

กฤษติญา มูลศรี. (2562). กรอบแนวคิดแมคคินซีย์ 7s และการจัดการคุณภาพโดยรวมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ธุรกิจ. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 40-53.

ทวีศักดิ์ สายอ๋อง และคณะ. (2563). การบริหารจัดการองค์กรตามกรอบแนวคิด McKinsey’s 7S ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลชมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11. วารสารเทคนิคการแพทย์, 48(1), 7297-7313.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28