การนำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ร่วมโครงการในรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ:ปัญหาจริยธรรมว่าด้วยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยไว้เป็นความลับ

ผู้แต่ง

  • จำเนียร จวงตระกูล ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ ดร. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • คณิดา นรัตถรักษา โรงฝึกพลเมืองพิษณุโลก
  • ปรีชา คำมาดี วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ลัดดาวัลย์ สำราญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงคุณภาพ, จริยธรรมการวิจัย, มาตรการทางจริยธรรม, ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย, ข้อมูลส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางในการปกป้องคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลจากความเสี่ยงภัยหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้มาตรการทางจริยธรรมว่าด้วยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยไว้เป็นความลับ (confidentiality) ในการนำเสนอข้อมูลในการวิจัยหรือรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ ซึ่งดำเนินการโดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแล้วสกัดข้อมูลออกมาเพื่อใช้เป็นฐานในการเขียนบทความฉบับนี้ โดยมีขอบเขตของการศึกษาประกอบด้วย (1) บทนำ เพื่อนำเสนอที่มาและความสำคัญของประเด็นที่จะดำเนินการศึกษารวมทั้งวัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษา (2) การทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วย คุณลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย หลักการจริยธรรมการวิจัย ประเด็นจริยธรรม
ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองผู้เข้าร่วมโครงการจากความเสี่ยงหรือภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยโดยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการไว้เป็นความลับ มาตรการทางจริยธรรมที่ใช้เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยโดยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการไว้เป็นความลับ (3) สรุปผลการศึกษา (4) ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาและ (5) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าประเด็นจริยธรรมว่าด้วยการปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยในการวิจัยและรายงานการวิจัยยังมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในชุมชนวิจัยไทยไม่มากนัก และในรายงานการวิจัยบางโครงการ นักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยรวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยและนำเสนอภาพถ่ายของนักวิจัยที่สัมภาษณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย และภาพกิจกรรมอื่น ๆ ของโครงการวิจัยที่อาจทำให้ผู้อ่านสามารถระบุตัวตนของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้ลงในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ในระบบการอ้างอิงวารสารทางวิชาการของประเทศไทย

References

Dhillon, P. (2022). How to write a good scientific review article. The FEBS Journal, 289(13), 3592-3602.

Green, B. N., Johnson, C. D., Adams, A. (2006). Writing narrative literature reviews for peer reviewed journals: secrets of the trade. Journal of chiropractic medicine, 5(3), 101-117.

Ferrari, R. (2015). Writing narrative style literature reviews. Medical writing, 24(4), 230-235.

Huelin, R., Iheanacho, I., Payne, K., & Sandman, K. (2015). What’s in a name? Systematic and non-systematic literature reviews, and why the distinction matters. The evidence, 34-37.

Rahman, A., Zulkifle, M., Aslam, M., & Khan, M. R. (2019). Components of Writing a Review Article. Journal of Integrated Community Health (ISSN 2319-9113), 8(1), 8-12.

จำเนียร จวงตระกูล, นพพงศ์ เกิดเงิน, ตระกูล จิตวัฒนากร, และภาวัช ครูซ. (2566). แนวทางการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการสำหรับนักวิชาการใหม่. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10 (1), 1-19.

จำเนียร จวงตระกูล, ศิวะพร ภู่พันธ์, อุทัย อันพิมพ์ และอารี ผสานสินธุวงศ์. (2566). การใช้การวิจัยเชิงคุณภาพยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูลในงานรัฐประศาสนศาสตร์: การทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ. PAAT Journal, 5(10), 7-34.

จำเนียร จวงตระกูล, กล้าหาญ ณ น่าน และ พ.ต.ต.อรรถพล ศิริลัทธยากร. (2566). การนำการวิจัยแบบการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบไปใช้ในการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย. PAAT Journal, 5(9), 1-23.

Kitchenham, B., Brereton, O. P., Budgen, D., Turner, M., Bailey, J., & Linkman, S. (2009). Systematic literature reviews in software engineering–a systematic literature review. Information and software technology, 51(1), 7-15.

Snyder, H. (2019). Literature review as a research methodology: An overview and guidelines. Journal of business research, 104, 333-339.

Xiao, Y., & Watson, M. (2019). Guidance on conducting a systematic literature review. Journal of planning education and research, 39(1), 93-112.

Mengista, W., Soromessa, T., & Legese, G. (2020). Method for conducting systematic literature review and meta-analysis for environmental science research. MethodsX, 7, 100777.

Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2017). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. Sage publications.

จำเนียร จวงตระกูล (2567). เปรียบเทียบกระบวนการดำเนินการวิจัยระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ในความรู้พื้นฐานการวิจัยเชิงคุณภาพ. เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. 11 กุมภาพันธ์ 2567.

จำเนียร จวงตระกูล. (2563). การออกแบบการวิจัย: ประเด็นจริยธรรมและความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพ. บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

จำเนียร จวงตระกูล, ลัดดาวัลย์ สำราญ, พนา ดุลยพัชร์ และ สานนท์ อนันทานนท์. (2567). จริยธรรมการวิจัย: การปกป้องคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเชิงคุณภาพ. เอกสารร่างบทความทางวิชาการเพื่อนำเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในฐานการอ้างอิงวารสารไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

จำเนียร จวงตระกูล. (2565). การวิจัยเชิงคุณภาพ: แนวทางการนำไปใช้เพื่อดำเนินการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. MNJ Supply.

จำเนียร จวงตระกูล, ตระกูล จิตวัฒนากร, วอนชนก ไชยสุนทร และวรรณภา ลือกิตตินันท์. (2564). มาตรการทางจริยธรรมในการขอรับและการให้ความยินยอมจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยในการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. Journal of HR intelligence, 16(2), 63-81.

Kar, N. (2011). Ethics in research. The Odisha Journal of Psychiatry, 17, 23-28.

Greaney, A. M., Sheehy, A., Heffernan, C., Murphy, J., Mhaolrúnaigh, S. N., Heffernan, E., & Brown, G. (2012). Research ethics application: A guide for the novice researcher. British Journal of Nursing, 21(1), 38-43.

Vanclay, F., Baines, J. T., & Taylor, C. N. (2013). Principles for ethical research involving humans: ethical professional practice in impact assessment Part I. Impact assessment and project appraisal, 31(4), 243-253.

Dooly, M., Moore, E., & Vallejo, C. (2017). Research ethics. In E. Moore & M. Dooly (Eds), Qualitative approaches to research on plurilingual education (pp. 351-362). Research-publishing.net.

Bitter, C. C., Ngabirano, A. A., Simon, E. L., & Taylor, D. M. (2020). Principles of research ethics: A research primer for low-and middle-income countries. African Journal of Emergency Medicine, 10, S125-S129.

Armond, A. C. V., Gordijn, B., Lewis, J., Hosseini, M., Bodnár, J. K., Holm, S., & Kakuk, P. (2021). A scoping review of the literature featuring research ethics and research integrity cases. BMC Medical Ethics, 22(1), 50.

Bhandari, P. (2021). Ethical Considerations in Research: Types & Examples. Retrieved February 17, 2024, from https://www.scribbr.com/methodology/research-ethics/

Drolet, M. J., Rose-Derouin, E., Leblanc, J. C., Ruest, M., & Williams-Jones, B. (2023). Ethical Issues in research: perceptions of researchers, research ethics board members and research ethics experts. Journal of Academic Ethics, 21(2), 269-292.

Lindemann, T., & Häberlein, L. (2023). Contours of a research ethics and integrity perspective on open science. Frontiers in Research Metrics and Analytics, 8, 1052353.

Department of Health, Education, and Welfare. (1979). THE BELMONT REPORT office of the secretary ethical principles and guidelines for the protection of human subjects of research the national commission for the protection of human subjects of biomedical and behavioral research April 18, 1979. Retrieved February 17, 2024, from https://www.hhs.gov/ohrp/regulations-and-policy/belmont-report/read-the-belmont-report/index.html

Miracle, V. A. (2016). The Belmont Report: The triple crown of research ethics. Dimensions of critical care nursing, 35(4), 223-228.

Czubaruk, K. (2019). The Belmont Report: What is it and how does it relate to today’s clinical trials. Cancer Support Community. from https://www. cancersupportcommunity.org/blog/2019/10/belmont-report-what-it-andhow-does-it-relate.

Nagai, H., Nakazawa, E., & Akabayashi, A. (2022). The creation of the Belmont Report and its effect on ethical principles: a historical study. Monash bioethics review, 40(2), 157-170.

Kaiser, K. (2009). Protecting respondent confidentiality in qualitative research. Qualitative health research, 19(11), 1632-1641.

Saunders, B., Kitzinger, J., & Kitzinger, C. (2015). Anonymising interview data: Challenges and compromise in practice. Qualitative research, 15(5), 616-632.

Resnik, D. B. (2018). The ethics of research with human subjects: Protecting people, advancing science, promoting trust (Vol. 74). Springer.

Surmiak, A. D. (2018). Confidentiality in qualitative research involving vulnerable participants: Researchers' perspectives. In Forum Qualitative Sozialforschung/Forum: Qualitative Social Research (Vol. 19, No. 3). DEU.

Bos, J. (2020). Research ethics for students in the social sciences (p. 287). Springer Nature

Santos, J. (2022). Confidentiality Matters: Qualitative Best Practices. Retrieved February 22, 2024, from https://www.qrcaviews.org/2022/09/04/confidentiality-matters-qualitative-best-practices/

Kang, E., & Hwang, H. J. (2023). The Importance of Anonymity and Confidentiality for Conducting Survey Research. Journal of Research and Publication Ethics, 4(1), 1-7.

Hecker, J. & Kalpokas, N. (2024). Confidentiality and privacy in research. Retrieved 17 February 2024, from https://atlasti.com/guides/qualitative-research-guide-part-1/confidentiality-privacy-research

Geest, S. V. D. (2003). Confidentiality and pseudonyms: A fieldwork dilemma from Ghana. Anthropology Today, 19(1), 14-18.

Dougherty, M. V. (2021). The use of confidentiality and anonymity protections as a cover for fraudulent fieldwork data. Research Ethics, 17(4), 480-500.

Heaton, J. (2022). “* Pseudonyms are used throughout”: A footnote, unpacked. Qualitative Inquiry, 28(1), 123-132.

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562. (2562, 27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 69 ก, หน้า 42-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27