การพัฒนาศักยภาพนวัตกรชุมชนผ่านนวัตกรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG พื้นที่ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
นวัตกรชุมชน, อัตลักษณ์ท้องถิ่น, การท่องเที่ยวชุมชน, โมเดลเศรษฐกิจ BCGบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อ 1.การพัฒนาศักยภาพของนวัตกรชุมชนผ่านโครงการ U2T 2.เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชน 3.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบจากผลไม้ลดเปรี้ยวที่ล้นตลาดในท้องถิ่น โดยงานวิจัยจะถูกรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการลงพื้นที่จริง การสังเกตการณ์ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยคัดเลือกกลุ่มประชากรผ่านการสัมภาษณ์ในโครงการU2T ในตำบลท่าหมอไทร จ.สงขลา จำนวน 20 คน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content-Analysis) เป็นการนำข้อมูล เอกสาร วิเคราะห์พรรณนา อธิบายปรากฎการณ์จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.นวัตกรชุมชนตำบลท่าหมอไทรสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เรื่องการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และ Lean Canvas Model 2.การสร้างอัตลักษณ์ในท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนของคนท่าหมอไทรกับงานนัดพบที่นบต้นปริง ครั้งที่ 1 และ 3.ผลิตภัณฑ์ต้นแบบน้ำยาเอนกประสงค์ผลไม้รสเปรี้ยว ANN CLEAN TAMORSAI
References
พัชพร อยู่ยืน อภิญญา ภูมิโอตา และศิระ ศรีโยธิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นนวัตกร: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ PUNN. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4 “การบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0”. https://conference.kku.ac.th/colaimg/files/articles/b9e07-o-76-.pdf
สำนักงานส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2565). นวัตกรชุมชนภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พรพจน์ ศรีดัน. (2564). โครงการนวัตกรรมทางสังคมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐนัย ตรีเนตร และสุทัศน์ รัตน์เกื้อกังวาน. (2559). การพัฒนาโมเดลธุรกิจด้วยวิธีการลีนสตาร์ทอัพ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 39(3), 337-351.
สุกัญญา วงศ์เจริญชัยกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฬารัตน์ แสงอรุณ ราณี อิสิชัยกุล และกิ่งพร ทองใบ. (2021).การพัฒนาแบบจำลองธุรกิจเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 223.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PAAT Journal (วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.