แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ณัฐนรี สมิตร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี
  • นิพนธ์ แย้มเกษม กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจการบริการ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี

คำสำคัญ:

การจัดการการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, เมนูอาหารท้องถิ่น

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเมนูอาหาร และแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 24 คน มาจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดสมุทรสงครามมีเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ได้แก่ น้ำพริกกะปิปลาทูแม่กลอง แกงรัญจวน และแกงคั่วปลากะเบนย่างกระดองกรุป มีวัตถุดิบในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เช่น ปลาทูแม่กลอง หอยหลอดสมุทรสงคราม กุ้งแม่น้ำแม่กลอง และใบชะคราม เป็นต้น 2) สภาพแวดล้อมของการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า จุดแข็ง คือ การคมนาคมมีความสะดวก มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่พักหลากหลาย สภาพภูมิอากาศดี มีวัตถุดิบในการทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์และอุดมสมบูรณ์ มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จุดอ่อน คือ ป้ายบอกทางไม่เพียงพอ การจราจรติดขัดบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน การประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวยังไม่มากพอ โอกาส คือ ได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐ อุปสรรค คือ พื้นที่ริมน้ำบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมในฤดูฝนทำให้การเดินทางของนักท่องเที่ยวลำบาก งบประมาณในการสนับสนุนการท่องเที่ยวมีไม่มาก รวมถึงปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยวมากขึ้นนักท่องเที่ยวมีตัวเลือกมากขึ้น และ 3) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ แนวทางการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ผลักดันการท่องเที่ยวเชิงอาหารในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว

References

กฤติเดช อนันต์. (2561). แนวทางการสร้างความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศ ไทยผ่านคุณค่าเชิงประสบการณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย, 8(6), 585–595.

เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง, สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (สวนส.) มหาวิทยาลัยศิลปากร. (มปป.). (2565, 12 พฤษภาคม). จังหวัดสมุทรสงคราม. สืบค้น จาก https://citly.me/VWJca.

โชคดี คู่ทวีกุล. (2561). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยรถอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) กรณีศึกษา: อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2549). ชุดโครงการวาระแห่งชาติเพื่อการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวสู่การ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว.

นิมิต ซุ้นสั้น และอุมาภรณ์ สมกาย. (2564). ประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ส่งผลต่อการแบ่งปัน ประสบการณ์: การศึกษาตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 43(4), 40-63.

บมจ.ธนาคารกรุงเทพ. (2562, 22 กันยายน). Food Tourism กินเพื่อเข้าใจวิถีพื้นเมือง.

สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/food-tourism-lifestyle

ปรียาภรณ์ เนียมนก และวศิน เหลี่ยมปรีชา. (2555). การรวมกลุ่มของชุมชนนักปฏิบัติเพื่อสร้างรูปแบบทางการตลาดที่ยั่งยืนผ่านทฤษฎีกิจกรรม กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 29-38.

เพ็ญศิริ สมารักษ์, นันทภัค บุรขจรกุล และเปรมปรีดา ทองลา. (2565). ผลกระทบทางเศรษฐกิจด้านบวกที่เกิดจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วารสาร วิจัยรำไพพรรณี, 16(1), 46-57

ภูริ ชุณห์ขจร. (2560). ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(ฉบับพิเศษ), 321-332.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564, 12 ตุลาคม). บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจท่องเที่ยวปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20211012232619.pdf

แสงรวี เกตุสุวรรณ. (2563). กรณีศึกษาองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Culha, M. (2020). Dimensions of gastronomic experience affecting on sharing experience: place attachment as a mediator and length of stay as a moderator. Journal of Hospitality and Tourism Insights, 1(1), 1-15.

Cohen, E., & Avieli, N. (2018). Food in tourism attraction and impediment. Annals of Tourism Research, 31(4), 755-778.

Hall, C. M., & Sharples, L. (2003). The consumption of experiences or the experiences of consumption? An introduction to the tourism of taste. In Michael H, C., Liz S., Richard M., Niki M. and Brock C. (Eds.), Food Tourism: Around the World: Development, Management and Markets. Chapter 1 (pp. 1-24). Oxford: Butterworth Heinemann.

Loureiro, S. M. C., & Gonzalez, F. J. M. (2014). The importance of quality, satisfaction, trust, and image in relation to rural tourist loyalty. Journal of Travel and Tourism Marketing, 25(2), 117-136.

Stylos, N., Bellou, V., Andronikidis, A., & Vassiliadis, C. A. (2017). Linking the dots among destination images, place attachment, and revisit intentions: A study among British and Russian tourists. Tourism management, 60(1), 15-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30