ต้นแบบระบบจัดเก็บฐานข้อมูลคำสั่งปฏิบัติราชการบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คำสำคัญ:
ระบบฐานข้อมูล, คำสั่งปฏิบัติราชการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลจัดเก็บคำสั่งปฏิบัติราชการบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผูใชระบบฐานข้อมูลจัดเก็บคำสั่งปฏิบัติราชการบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 66 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย แผนภาพกระแสข้อมูล แบบจำลองอีอาร์ พจนานุกรมข้อมูล การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวิเคราะห์หาตัวแบบมาตรฐานของระบบฐานข้อมูลจัดเก็บคำสั่งปฏิบัติราชการบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี แบบประเมินคุณภาพระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ และมีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1 มีความเที่ยงตรงใช้งานได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ระบบฐานขอมูลจัดเก็บคำสั่งปฏิบัติราชการบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีผู้เกี่ยวข้องกับระบบ 3 กลุ่ม คือ คณบดี อาจารย์/เจ้าหน้าที่ และผู้ดูแลระบบ โดยระบบประกอบด้วย 5 กระบวนการ คือ กรอกข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล จัดการคำสั่งปฏิบัติราชการคณะฯ ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบและรายงาน การประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม มีคุณภาพสูง สามารถใช้งานได้จริงการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานขอมูลจัดเก็บคำสั่งปฏิบัติราชการบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ทำการทดลองใช้ระบบโดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.63)
References
ช่อทิพย์ ศิวพรอนันต์. (2559). ระบบการจัดการเอกสารและผลงานของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ธัชกร วงษ์คำชัย และฐัศแก้ว ศรีสด. (2555). การออกแบบและพัฒนาระบบที่ปรึกษาแบบหลายช่องทาง.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ธัญทิพย์ พรหมมณี และปริญญา กาจสันเทียะ. (2561). การพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสาร สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
บัญชา ปะสีเตสัง. (2556). สร้างเว็บไซต์ด้วย HTML5 ร่วมกับ CSS3 และ jQuery. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปิยะพร ณรงค์ศักดิ์, จุลทัศน์ จุลศรีไกวัล และมัณฑนา ขำหาญ. (2554). การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการประกันคุณภาพในการจัดเก็บเอกสารของกองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนาภาคพายัพ เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
พลอยพรรณ สอนสุวิทย์, ฆัมภิชา ตันติสันติสม, สุวิชญา บัวชาติ, อเนก หาลี, และสุรเชษฐ์ ขอนทอง.(2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศออนไลน์ นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8 และนานาชาติ ครั้งที่ 1 วิทยาการจัดการวิชาการ 2019 “การจัดการนวัตกรรมสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน”. (หน้า 847-862)กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พิศิษฐ์ บวรเลิศสุธี, ธัชกร วงษ์คำชัย และฐัศแก้ว ศรีสด. (2561). การพัฒนาต้นแบบระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ละอองดาว ภูสำรอง.(2561). ระบบการจัดเก็บเอกสารภายในของบุคลากรสายสนับสนุน คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภััฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี : อักษรศิลป์การพิมพ์.
อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียน การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ไอดีซี พรีเมียร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.