พฤติกรรมและการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า

ผู้แต่ง

  • พัฒน์นารี คงกล่อม นักวิชาการอิสระ
  • วิมล สดมสุข นักวิชาการอิสระ
  • พัฒน์นารี คงกล่อม นักวิชาการอิสระ
  • กันนิกา พราหมณีสุวรรณ นักวิชาการอิสระ
  • ปกรณ์ โอภาสวิทยารักษ์ อาจารย์พิเศษ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหาร, ร้านอาหารญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า และ 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และตามพฤติกรรมการใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภคที่เข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่มาใช้บริการรับประทานอาหารญี่ปุ่น เป็นเมนูเซ็ต ที่ใช้บริการในช่วงเวลา 14.01-18.00 น. โดยเฉลี่ยใช้บริการ 1 ครั้งต่อเดือน และมารับประทานอาหารกับสมาชิกในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารโดยเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 201-400 บาท ต่อคน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า มีความแตกต่างกันตามเพศ และจำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการเฉลี่ยต่อเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาร้านอาหาร โดยปรับปรุงการให้บริการให้ตรงตามความต้องของลูกค้าแต่ละเพศ และพัฒนาการส่งเสริมการขายเพื่อให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565, 15 พฤศกิจกายน). ร้านอาหารญี่ปุ่นโตต่อเนื่องเปิดใหม่ในต่างจังหวัดแซงหน้า กทม. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/977869.

กิตติภพ สงเคราะห์ และสุพรรณี อินทร์แก้ว. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กีรติ พรมต๊ะ และพิพัฒน์ เขาทอง. (2556). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่น กรณีศึกษา: ร้านซากุระซูชิในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไป. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (2547). การนำแนวคิดและทฤษฎีอ้างอิงในการทำวิทยานิพนธ์ทางธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา: พระนครศรีอยุธยา.

จตุพัฒน์ บุตรอำลา. (2557). การศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมกระบวนการตัดสินใจสมัครใช้บริการ ฟิตเนส เซ็นเตอร์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นฤชยา กัญหาลัด และสุวลี โล่วิรกรณ์. (2558) การบริโภคอาหารญี่ปุ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 12(3), 45-59.

ณัฐเกียรติ พุทธจง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการซ้ำของลูกค้าร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทราเมนในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธัญญ์ธิชา รักชาติ และกิติมา ทามาลี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(1), 1-6.

พรมิตร กุลกาลยืนยง. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยและปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารไทยในเขตกรุงเทพมหานคร: ศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคกลุ่ม Gen-X และ Gen-Y. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 66-75.

พวงแก้ว บวรกิจสุธี. (2556). คุณภาพการบริการไลฟ์ สไตล์ และปัจจัยส่วนประสมการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาวินี กุลเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการบริโภคอาหารของผู้บริโภค ร้านยาโยอิสาขาซีคอน บางแค. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

วิลาวัณย์ ฤทธิ์ศิริ. (2559). กระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.

สรรเสริญ สัตถาวร. (2563). อิทธิพลของคุณภาพการบริการ ความคุ้มราคา และอัธยาศัยดีมีไมตรีจิตของพนักงานต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(1), 179-197.

เอกณรงค์ วรสีหะ. (2558). นวัตกรรมด้านอาหารกับพฤติกรรมกับการบริโภคอาหารของคนไทยในปัจจุบัน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 5(3), 1-13.

Amidi, A., Darvishmoghaddam, E., Razmfarsa, A., & Othman, R. B. (2022). Impact of five important factors on restaurant performance and hospitality management: An empirical analysis of technological innovation. Future Technology, 1(2), 1-17.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management. London: Pearson Education.

Nakayama, M., Wan, Y. (2019). The cultural impact on social commerce: A sentiment analysis on Yelp ethnic restaurant reviews. Information & Management, 56(2), 271-279.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The content validity index: Are you sure you know what’s being reported? critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29, 489-497.

Shrestha, N. (2021). Factor analysis as a tool for survey analysis. American Journal of Applied Mathematics and Statistics, 9(1), 4-11.

Silva, J. H., Favoretto, C., Amancio, I. R., Ganga, G. M., Lizarelli, F. L., Mendes, G. H. (2022). Consumer behavioral intention to use restaurant, concert and education services online during and after the COVID-19 pandemic: Evidence from Brazil. International Journal of Quality Service Science, 14, 504-523.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30