รูปแบบการพัฒนาในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ, สุขภาพกาย, สุขภาพจิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดชุมพร และ 2) สร้างรูปแบบเพื่อการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ ในจังหวัดชุมพร วิธีดำเนินการวิจัยใช้เทคนิคเดลฟาย โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 21 คน ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 รอบ ซึ่งใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง สำหรับในรอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และ ในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณหาค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้อคิดเห็นในมิติของผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดชุมพร ซึ่งจะพิจารณาค่ามัธยฐานตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป (Md.>3.50) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ น้อยกว่า 1.50
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) การศึกษาการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องตรงตามเนื้อหาโดยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Md. = 3.80) และพิจารณาเป็นรายมิติ พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) มิติการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ดี (Md. = 3.85) 2) มิติความผูกพันในการดำเนินชีวิต(Md. = 3.78) และ 3) มิติความสามารถทางปัญญาและสมรรถภาพทางกาย (Md. = 3.77) (2) ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นในรูปแบบการพัฒนาในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดชุมพร ประกอบด้วย 1) มิติการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ดี 2) มิติความผูกพันในการดำเนินชีวิตและ 3) มิติความสามารถทางปัญญาและสมรรถภาพทางกาย ทั้งนี้ใน มิติการที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ดี ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ โดยต้องมีความรู้และความเข้าใจว่า สุขภาพกายดี จิตใจที่สดใสและมีที่พักพิง เป็นพื้นฐานของรูปแบบการพัฒนาในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดชุมพร ที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จได้จริง
References
การปกครองจังหวัดชุมพร. (2562). สถานการณ์ปัจจุบันของประชากรทั้งสิ้นต่อจำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพรที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/infocenter20/ifunc_login.asp?l=&o=2015/
กุณฑลี เงาแสงธรรม. (2551).การเตรียมการเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีศักยภาพของบุคลากรกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์. (2563). การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อชีวิตและการอยู่รอดของอารยธรรม มนุษย์ : เข้าถึงได้จาก https://echonewsthailand.com/th/news/75865-a0011
ทัศนีย์ ดาวเรือง. (2555). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเกษียณอายุที่มีคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เพ็ญนรินทร์ สาตรจำเริญ. (2549).การศึกษาทัศนะของผู้สูงอายุ ต่อการเป็นผู้สูงอายุที่ยังประโยชน์ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2536). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยในประเด็นการเกื้อหนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ พื้นที่ศึกษาในเขตภาคกลาง. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และ พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2550). สถิติพื้นฐานเพื่อผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยประเมินผลความจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพลส.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
อุไร เดชพลกรัง. (2554). ทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Rowe, J. W., & Kahn, R. L. (1997). Successful Aging. In The Gerontological Society of America. 37(4), (433-440).
World Health Organization. (2019). The World health report : 2002 : Reducing the risks, promoting healthy life. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/42510
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.