ส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อย ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา เนียมน้อย หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • จริยา รุกขพันธุ์ โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สิทธิชัย ฝรั่งทอง โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อย, วิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อยวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อยวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมอ้อยวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 196 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อยวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านราคา และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อยวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อยวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอยด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

References

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน.สงขลา: สถาบันสันติ ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่.กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญจันทร์ สีสันต์. (2557). วิธีการวิจัยทางการบริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปภาวรินท์ ช้างนะ. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตอบสนองของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ แปรรูปสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตจังหวัดเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2554). หลักการตลาด.กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและหนังสือคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรางคณา อดิศรประเสริฐ. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการตลาดสำหรับผู้ประกอบการสตรีใน ชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดย่อมผลิตภัณฑ์กระดาษสา. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ,17, 184-199.

ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2557). หลักการตลาด.กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชน พ.ศ. 2548.กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อุษณีย์ เล็กท่าไม้. (2558). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับร้านของที่ระลึกจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Kotler & Armstrong. (2012). Principles of Marketing. New Jersey: person education. Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22