การตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรรณภา แซ่เอี้ยว หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • จริยา รุกขพันธุ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สิทธิชัย ฝรั่งทอง โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, เครื่องมือแพทย์, โรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัสดุ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ-จัดจ้าง หัวหน้าพัสดุ/หัวหน้าจัดซื้อ-จัดจ้าง แพทย์และพยาบาล ของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบสะดวกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจซื้อของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครมีระดับการตัดสินใจซื้อโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการหาข้อมูล ด้านตระหนักถึงความต้องการ ด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก และด้านการประเมินหลังการขายและ 2) เปรียบเทียบระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่ามีระดับการตัดสินใจซื้อในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามอายุพบว่า มีระดับการตัดสินใจซื้อด้านการตระหนักถึงความต้องการ ด้านการหาข้อมูล และด้านการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า มีระดับการตัดสินใจซื้อ ด้านการตระหนักถึงความต้องการ ด้านการหาข้อมูล และด้านการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01เมื่อจำแนกตามตำแหน่งงานพบว่า มีระดับการตัดสินใจซื้อ ด้านการตระหนักถึงความต้องการ ด้านการหาข้อมูล และด้านการตัดสินใจซื้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ทำงานพบว่า ระดับการตัดสินใจซื้อด้านการตระหนักถึงความต้องการ ด้านการหาข้อมูล และด้านการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชมพูนุท กิตติดุลยการ. (2558). การศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ดาวสวรรค์ ศุภธนศักดิ์สิริ และดาริณีตัณฑวิเชฐ. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ซื้อเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการผ่าตัดของโรงพยาบาลภาครัฐ ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารรวม บทความวิจัยบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, 6 (1), 32-41.

นภาทิพย์ ไตรกุลนิภัทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2561). อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์. วารสารแนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2561-63, (กุมภาพันธ์), 1-9.

สิริกาญจน์ กมลปิยะพัฒน์. (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุพัตรากุล ปิยะวาจา. (2559). กรณีศึกษาการลงทุนโครงการศูนย์สุขภาพครบวงจรของบริษัทกรุงเทพ ดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน).การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการเงิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนัญญา จำปาทอง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการ แพทย์ ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Best, J. W. (1997). Research in education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice–Hell.

Cronbach, L. (1990). Essentials of psychology testing. New York: Harper CollinsPublishers.

Kotler, Philip. & Keller, L. Kevin.(2012).Marketing Management. (14thed.) New Jersey: person education. Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22